On saturday 22nd September 2018 I Paid respect to
Pho Kru Boonsri Rattanang National artist in performing arts (Lanna traditional music) in 2017. at Chiang Mai Cultural Center. In this occasion, a flag dance was performed for the blessings to the ceremony.
Thanks for photos from Worarit Eampracha
Saran Suwannachot
วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2561 ร่วมงานมุทิตาจิต พ่อครูบุญศรี รัตนัง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านล้านนา) ประจำปี พ.ศ.2560 ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ โอกาสนี้ได้แสดงฟ้อนธงไชยมงคลเพื่อเป็นศิริมงคลแก่พิธี
ขอขอบคุณรูปภาพจากพ่อตุ้ย วรฤทธิ์ เอี่ยมประชา มากๆ ครับผม
ศรัณ สุวรรณโชติ
Saran Suwannachot
มหาวิทยาลัยพายัพมอบโล่เกียรติคุณ แด่พ่อครูบุญศรี รัตนัง
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
Boonsee Rattanang:National Artists in Performing Art
บุญศรี รัตนัง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2560 นักร้องเพลงพื้นเมืองล้านนา นักร้องเพลงซอที่มีผลงานอย่างแพร่หลายในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง จนได้รับการยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2533
ประวัติ
บุญศรี รัตนัง เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2496 (65 ปี) ที่บ้านป่าเหมือด ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรพ่อน้อยดวงคำ และนางจันทร์เที่ยง รัตนัง มีพี่น้อง 4 คน ได้สมรสกับนางจันทร์เป็ง สุยะเอย มีบุตร 2 คน
บุญศรี รัตนัง มีนิสัยการดีด สี ตีเป่า มาตั้งแต่เล็ก ได้ฝึกการเล่นดนตรีพื้นเมืองประเภทซึง-สะล้อ ขลุ่ย จากลุงของตน คือ นายสิงห์คำ รัตนัง ตั้งแต่เยาว์วัย
บุญศรี รัตนัง สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านป่าเหมือด เมื่อปี พ.ศ. 2506 เริ่มเรียนเป่าปี่กับพ่อสม บุญเรือง ช่างเป่าปี่ มีชื่อในขณะนั้น พ.ศ. 2515 หันมาเรียนขับซอกับพ่อหนานตา ตันเงิน ที่บ้านป่าแงะ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
การทำงาน
บุญศรี รัตนัง มีอาชีพทำไร่ทำนาเช่นเดียวกับบิดามารดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 เริ่มรับจ้างเป่าปี่ในงานซอ เล่นตลกประจำคณะละครซอลูกเอื้องเมืองเหนือ ในปี พ.ศ. 2516 ทำงานทั่วไปประจำวงดนตรี คณะอำนวยโชว์ ของนายอำนวย กลำพัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ตั้งวงดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ชื่อวง “ ลูกทุ่ง ลานทอง ” และย้ายมาเล่นตลกในคณะนายประสิทธิ ศรีสมเพชร ในตลกคณะ “ จอกจมูกแดง ” ในปี พ.ศ. 2522 ปีต่อมาเข้าสู่วงการซอโดยได้รับการสนับสนุนจากนาย ประสิทธิ ศรีสมเพชร และเริ่มฝึกแต่งเพลง ใส่ทำนองเพลงแนนพื้นบ้านภาคเหนือ
ในปี พ.ศ. 2525 เริ่มร้องเพลงลูกทุ่งคำเมืองชุด "ลุงอดผ่อบ่ได้" และ "บ่าวเคิ้น" ได้รับการสนับสนุนจากแฟนเพลงในภาคเหนือ และเป็นนักร้องประจำอยู่วงดนตรีคณะศรีสมเพชรวงใหญ่ ถือว่าเป็นบุคคลแรกที่เริ่มต้นสร้างแนวเพลงนี้ขึ้น จากนั้น พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528 ได้ตั้งกิจการวงดนตรีตนเอง แต่ประสบปัญหาขาดทุนจึงต้องหยุดการแสดง จึงหันเข้าสู่วงการซออีกครั้งหนึ่งทำผลงานซอออกมาอีก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา
ปัจจุบันมีผลงานเพลงที่แต่งขึ้นมาทั้งหมด ประมาณ ๕๐๐ กว่าเพลง
ซอพื้นเมือง ::
มีผลงานอัลบั้มซอพื้นบ้านมาแล้วกว่า ๓๐ ชุด ผลงานซอบางเรื่องที่มีการนำมาบันทึกเสียงใหม่ และจัดทำในรูปแบบของซอสายการศึกษา เช่น ซอเรื่องดาววีไก่หน้อย สูมาครัวตาน และต๋ำฮายา ที่นำมาบันทึกรวมกันในพ.ศ. ๒๕๔๓โดยมีการจัดทำเป็นวีซีดี ซอคาราโอเกะ เพื่อการศึกษา ขึ้นเป็นครั้งแรกในล้านนา
การแต่งคร่าว จ๊อย และซอพื้นเมือง ::
ผลงานการแต่งคร่าวมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน แต่ส่วนมากจะเป็นการแต่งให้ผู้อื่นและไม่ได้มีการเก็บต้นฉบับไว้
ดนตรีพื้นเมือง และการประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นเมือง ::
มีการสร้างสรรค์ผลงานประเภทอัลบั้มดนตรีพื้นเมืองประมาณ ๑๐ กว่าชุด ชุดที่ ได้รับความนิยมคือ ชุด ดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ (๒๕๓๔) เพราะมีการนำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนามาบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลบางชนิด และมีการประยุกต์ให้มีจังหวะที่เร็วขึ้น ทำให้จากปกติที่ดนตรีพื้นเมืองมักจะมีจังหวะที่ช้าก็เปลี่ยนให้มีจังหวะที่เร็วขึ้น ฟังแล้วคึกครื้นมากขึ้น ปัจจุบันได้สร้างศูนย์สืบสานภูมิปัญญาล้านนาขึ้น โดยสร้างเป็นอาคารยกพื้นสูง หลังเล็กๆ ติดทุ่งนา ซึ่งใช้ทุนส่วนตัวเป็นหลักและมีทุนจากองค์กรต่างๆเข้ามาร่วมบ้าง เช่น อบต. และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการสอนดนตรีพื้นเมือง ซอพื้นเมือง จ๊อย คร่าว สอนการฟ้อนล้านนา สอนการทอผ้า และสอนในเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้านแบบล้านนาโบราณ
๕๕ ปี ที่ผ่านมา ทุกเวลา ทุกนาที เป็นเสมือนการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม และในการใช้ชีวิต ทำให้เกิดการตกผลึกทางความคิด ก่อให้เกิดอุดมการณ์ในการที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่ต่อไป อาจจะมองได้ว่าเป็นแค่อุดมการณ์เล็กๆ จากคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นในสังคม แต่ก็ด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างกลุ่มคนอนุรักษ์วัฒนธรรมรุ่นต่อไป เพื่อช่วยกันสืบทอดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ไว้ มิให้สูญหายไปจากดินแดนแห่งความสวยงามทางวัฒนธรรมล้านนา
No comments:
Post a Comment