Thursday, December 6, 2018

บันทึกความทรงจำ ละคร "แสนหาญ"Saran Suwannachot

































เรื่องราวของขุนศึกผู้กล้า สัตย์ซื่อ ถือปฏิญญา ชีวาพลีเพื่อแผ่นดิน
ความรักท่ามกลางศึกสงคราม การสูญเสีย พลัดพราก รอการกลับมา



http://www.compasscm.com/view/1574






 เชื่อว่าหลายคนคงได้รับข่าวการตระเตรียมละครเวทีฟอร์มใหญ่ ‘แสนหาญ’ โดยโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และหากคุณเป็นแฟนคลับมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมล้านนา และงานสืบสาน แน่นอนว่าคุณจะไม่พลาดการตีตั๋วเข้าไปรับชม แต่หากคุณเป็นคนที่ไม่ได้อินกับงานวัฒนธรรมมากนัก แต่ก็ชื่นชอบที่จะได้รับชม และตื่นตาตื่นใจไปกับสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดในเมืองของเรา คุณก็ไม่ควรพลาด ละคร ‘แสนหาญ’ ด้วยประการทั้งปวง เพราะละครเวทีครบรสเรื่องนี้ คือก้าวแรกสู่มิติใหม่ของงานวัฒนธรรมล้านนา ที่ผสมผสานศาสตร์ และศิลป์รังสรรค์มาเป็น ฉากการรบด้วยเจิงเมืองสุดตื่นเต้น และเรื่องราวความรักโรแมนติกตรึงใจ ที่หากคุณพลาดโอกาสครั้งนี้ ก็คงต้องรอไปถึงปีหน้านู้นเลย และวันนี้ COMPASS ก็ได้เชื้อเชิญ ‘ครูนิค ศรัณย์ สุวรรณโชติ’ ผู้เขียนบท และนักแสดงนำละครแสนหาญ มาเปิดเผย และบอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังละครเรื่องสำคัญแห่งปี ให้เราได้รับฟังก่อนไปชม ‘แสนหาญ‘ พร้อมกัน

Q: เรื่องราวของละครแสนหาญ และแรงบันดาลในการจัดสร้างละครเรื่องนี้
A: ละครแสนหาญ คือ เรื่องราวของขุนศึกนาม ‘พญาแสนหาญศึก’ ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเมืองเหนือ รับหน้าที่ปราบศัตรูที่หมายมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ด้วยฝีมือ ชื่อเสียงทางการรบ และความเป็นคนมีสัจจะ ซื้อสัตย์ภักดี พญาแสนหาญศึกจึงถูกปองร้ายจากศัตรูภายใน จนชีวิตตนเองและครอบครัวต้องก้าวเข้าสู่สถานการณ์วิกฤต และจำเป็นต้องฟันฝ่าออกไปให้จงได้ นี่คือเรื่องราวโดยย่อครับ สำหรับแรงบันดาลใจสำคัญของการสร้างละคร ‘แสนหาญ’ มาจาก 3 เรื่องหลัก เรื่องแรกคือความรัก ความหลงใหลในภูมิปัญญานาฎศิลป์ และยุทธศิลป์ล้านนา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่คณะทำงานมูลนิธิสืบสานล้านนา มีตรงกัน และทุกคนอยากจะเห็นมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ สามารถเดินทางข้ามวันเวลามาสู่ยุคใหม่ ในรูปแบบความบันเทิง จึงมีการดำริร่วมกันว่าเราจะจัดสร้าง ‘ข่วงสืบสานล้านนาเธียเตอร์’ เพื่อเป็นพื้นที่นำเสนอคุณค่าเหล่านี้สู่สายตาชาวโลก 2. แรงบันดาลใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ล้านนาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ 3. ละครแสนหาญจะเป็นการเปิดตัว ‘ข่วงสืบสานล้านนาเธียเตอร์’ พื้นที่ต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนที่เข้ามาเรียนรู้ภูมิปัญญาล้านนากับโฮงเฮียนสืบสานฯ

Q: Highlight ในละครแสนหาญ ที่ไม่ควรพลาด
A: เรื่องแรกคือ ฉากรบ และการต่อสู้ ที่เราก้าวข้ามสิ่งที่คุ้นชินอย่างการใช้ทักษะ และวิชากระบี่กระบองไปสู่การออกแบบฉากการต่อสู้ที่ประณีต และตื่นเต้นโดยหยิบเอา เจิงเมือง เจิงดาบ ศิลปะการต่อสู้แบบล้านนามาใส่ให้ผู้ชมได้เห็นกันชัดๆ ว่าการใช้วิชาเจิงแบบล้านนาเพื่อการสู้รบนั้นเป็นเช่นไร ซึ่งถือว่าเป็นงานที่ไม่ง่าย และยังไม่มีใครเคยนำมาใช้ในการแสดงแบบเต็มที่ซักครั้ง เรื่องที่สองคือ การสร้างสรรค์ดนตรีประกอบที่สอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการแสดง ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งงานหิน ที่ละครเรื่องนี้ตั้งใจและทุ่มเทเพื่อให้การนำเสนอออกมาดีที่สุด และละครเรื่องนี้ยังมีเพลงร้องที่แต่งขึ้นเป็นพิเศษขับร้องโดย มณีรัตน์ รัตนัง และบรรดานักแสดง จำนวน 4 เพลง อีกหนึ่งไฮไลท์คือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และศัสตราวุธที่คัดเลือกและจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยคำนึงถึงความสวยงาม และความถูกต้องตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งรวมไปถึงงานออกแบบฉากที่เราอาศัยเวทีกลางแจ้ง ที่มีลักษณะพิเศษกว่าเวทีละครทั่วไป ไฮไลท์สุดท้าย คือ งานสร้างละครแสนหาญที่รวมเอานักแสดงและคณะผู้จัดสร้างละครในเครือข่ายโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาล้านนาเข้าไว้ด้วยกันร่วม 50 คน ทุกฉาก ทุกตอนจึงเป็นการรวบรวมและบูรณาการ

ละคร ‘แสนหาญ’ จัดแสดงในวันที่ 2, 3, 4 กุมภาพันธ์ 2561 ณ เวลา 19.00 – 21.30 ณ ข่วงสืบสานล้านนาเธียเตอร์ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ติดต่อซื้อบัตรเข้าชมได้ที่ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา  โทร. 084-611-4739 บัตรราคา 1,000 500 และ 350 บาท


*ก่อนละครเริ่มมีกาดวัฒนธรรมข่วงสืบสานเธียเตอร์ – กาดกินลำและของที่ระลึกน่ารักๆ ไว้ให้ชิมให้ช้อปกันม่วนใจ ไม่ควรพลาด

Wednesday, November 28, 2018

ChiangMai CAD Festival 2018 : Giant Sword Dance

























































                                         Kru Nick :                                                             Saran Suwannachot










Ex.ฟ้อนดาบหลวง "พิธีไหว้สาบูชาเทพศาสตรา บรรพกษัตริย์ล้านนาและบูรพาจารย์"   Jan 6, 2018










































































































Chiangmai CAD Khomloy Sky Lantern Festival November 2018




Yi Peng --- Chiang Mai Lantern Festival
Yi Peng (or Yee Peng, Chiangmai Lantern Festival) is another light festival celebrated in Northern Thailand alongside Loy Krathong. It is a Lanna festival with the biggest celebration held in Chiang Mai, which is the ancient capital of the former Lanna Kingdom.

The highlight is that numerous sky lanterns, adorned with lights, are released and ‘float’ up into the sky. Actually, sky lanterns are called khom loi in Thai language, which means floating lanterns.

The khom loi are made of rice paper, stretched over a bamboo frame, with a candle attached. The hot air of the candle is trapped inside and makes the lantern rise from the ground. However, since the lanterns can be dangerous, the khom loi are being subjected to more and more government restrictions.

During the festival, different kinds of lanterns can be seen: houses and temples are decorated with khom fai (paper lanterns); Khom tue are lanterns carried on a stick; and Khom pariwat are revolving lanterns placed on temples.

Yi Peng Lantern Festival in Chiang Mai 2019
Origins and traditions of Yi Peng
Deeply rooted in Buddhism, some people believe Yi Peng is originated in India with the legend of the candle-carrying bird which once visited the Buddha and spoke to him about merit. Paying respects to the Buddha is regarded as a way to be reborn into the next life to enjoy great popularity and purity.

Asia HIGHLIGHTS
















               Saran Suwannachot :  Giant Sword dance 



                  ฟ้อนดาบหลวง  ศรันย์ สุวรรณโชติ


The iron blade of the darb – stretches out from a round handle into a long, subtle curve that widens toward the tip. This single-edged sword, of a type that has been used for centuries across Indochina, is both strong and flexible. It is a thing of beauty. It is also a deadly tool.


"พิธีไหว้สาบูชาเทพศาสตรา บรรพกษัตริย์ล้านนาและบูรพาจารย์"

The ceremony to pay respect to god of weapons, Lanna Kings and weaponry teachers

Kru Nick Sarun Suwannachot A master of Lanna Thai swords. He was a leader to show the 

ancient performance with the giant sword at CAD Chiang Mai November 2018.    


















































































































































Lakey Inspired