Wednesday, June 23, 2021

Wai kru Gong Sabad Chai :ไหว้ครูกลองสะบัดชัย วัดชัยสถาน (วัดป่าเสร้าน้อย) ดอยสะเก็ด เชียงใหม่

 

 

 

 


 

 



 


 

 

A gong is an East and Southeast Asian musical percussion instrument that takes the form of a flat, circular metal disc which is hit with a mallet. The earliest mention of gongs can be found in sixth century Chinese records, which mentioned the instrument to have came from the Western Regions.

 

 


 

 







Paying Homage to the Musical Teachers

 

By Montri Tramote

Nation Artist in thai Classical Music

From The book “ The Wai Khru CereMony in Thai Classical Music

 

The rite of paying homage to the teachers or wai khru ceremonies are performed to a greater or lesser degree, by all Thais as it is characteristic for them to be gratitude to their benefactors. In Thai schools, paying homage is a way in which students can show respect to their teachers and thank them for what they have learned in the past. It is also a form of insurance for what they hope to learn in the future. The grateful action can be expressed in different forms either a financial support or work assistance in accordance with status and opportunity. Citation of the teachers’ outstanding contribution and transferring of the merit earning to the late teachers are also included in the long list of paying gratitude to the teacher.

 

In many cases, the ceremonies are no more elaborate than the rite of paying homage to art teachers which also extents to the deities who encourage branches of art and learning. Each ceremony to teacher of certain branch of art and learning has its own mass. At this juncture, only wai khru ceremonies for the musical teachers are mentioned.

 

Paying respect to the musical taechers may be performed every day at bedtime while praying to the Triple Gems. Yet, with offerings and the Grand Guru of classical music to call out the names of the official music to call out the names of the gods and men nto be worshipped at the official wai khru ceremonies, only on Thursday that the function can take place as Thursday god, Phra Pharue hassabodhi, is considered the traditional Pi Paat ensemble, a performance of the wai khru ceremonies can mainfest itself annually. The amateur ensemble attached to institutions such as universities or banks may choose to perform the ceremonies as deemed appropriate. As for those who start to learn classical music, the concise wai khru rite can be orgulations and dedicate services to the deities. The annual wai khru ceremonies are customarily performed in a grand scale.

 

The custom and rite of paying homage to musical teachers may derive from the animistic beliefts from time immorial. Influenced by Brahmanism from India, along with the introduction of musical order in Mainland Southeast Asia. The so-called ceremonies have been transmitted through generetions.

 

It is without argument to have said that the wai khru ceremonies were adopted from India since the names of the deities remain the same as denoted in the textbook of Brahmanism. However, this must have followed the ancient textbook of a sect of Brahmanism in which (Phar Phrom) (Brahma) has disappeared. For in the in invocations to gods, only Phar Isuan (Isvara) and Phar Narai (Narayana) together with other deities, are mentioned.

 

As the Thais are mostly Buddhists, the wai khru ceremonies conventionally begin with the Buddhist rite. In the evening of Wednesday, monks are invited to chant prayers. The morning of Thursday ordinarily starts with an offering of food to monks and blessings by monks before furthering to the actual wai khru ceremonies. Nevertheless, this Buddhist rite can be omitted if it is inconvenient. A place to perform the ceremonies should be large enough for all the disciples and participants to be seated. A Buddhist altar with offering is put on one side and on the other side is a set of musical instruments placed in an orderly manner. The tapone (bulging drum) is positioned in a higher place as it reptesents Phar Porakhontap (God of Drums). Khon Masks representing the gods may also be present.

 

A table of offerings dedicated to the gods and spirites who will be invited to assemble is composed of flowers, incense sticks, candles, Baisri Pak Charm (a folded banana leaf rice container, often dedicated with flowers topped with a boiled egg) and a cooked set of the following items : hog heads, duck, chicken, shrimp, fish, Khanom Tom Khao and Khanom Tom Dang (white and red kinds of dessert consisting of boiled palm sugar, coconut meat and sticky rice) and fruit. If Phra Phirab is incorporated in the long list of paying homage, an uncooked set of the above-mentioned should also be prepared. These offerings can be in pairs or more as deemed appropriate.

 

Mention must also be made to Kan Kamnon, a small bowl putting together flowers, incense sticks, candles, white cloth or handkerchief and a six baht fee, followed by an orchestra playing Na Paat melody. The presiding teacher at wai khru ceremonies must dress in the traditional white shirt and white Panung for this special occasion. He will commence the ceremonies by lighting candles and incense sticks then preparing lustral water while the follower and participants are also lighting their candles and incense sticks to invite the Triple Gems and deities to bestow the blessings according to their wishes. The officiating teacher leads the invocations for the blessings of the Triple Gems, teachers and parents. Different presiding teachers will very the words. The musicians are then instructed to play Na Paat, a piece of music reserved for the most formal occasions for the purpose of worshipping the Triple Gems and to confirm deep respect to teachers. The presiding teacher later rises the food offerings for a while before removing them. Afterwards, the presiding teacher sprinkles lustral water and applies jerm (a white paste) to musical instruments and different teachers’ heads. Lustral water is of course spingkled over and white paste is also applied to the follwers and participants. With that action, the rite of wai khru is concluded to bring in the rite of Piti Krob or initiation rite.

 

Krob means intiation of knowledge in a certian branch. The Piti Krob rite is varied in accordance with branches of art. As for the Thai classical music, Pi Paat (woodwind and percussion instruments) are considered fundamental to all music. As such, all musical instrument (oboe, gong, xylophone, drum and cymbol) are used in the Piti Krob rite.

 

The rite of initiation for learning Pi Paat can be categorized in primary, secondary and higher stages.

 

1. The first stage is a concise ceremony for asking permission to enter the musical world. The presiding teacher receives the offerings composed of candles, incense sticks and a six bath fee from a pupil and hold his hands guiding him to play Gong Wong Yai (big circle of gong) the first stanza of one tune thrice of Satukarn song, master tunes to pay homage to Triple Gems and to express deep respect to teachers. This marks the initial step of learning Pi Paat. The pupil may practice the rest of the song with somebody else. In additiion, the pupil is to learn songs in Home Rong Yen series except for Tra song. He is also allowed to learn other songs as recommended by the teacher.

 

2. The second stage takes place after finishing the Hom Rong Yen series. The pupil is now beginning to learn how to play Tra Home Rong Song which was omitted in the first stage. The teacher holds the pupil’s hands to play Gong Wong Tai the first stanza of one tune thrice of Tra song.

 

3. The third stage begins with Home Rong Klang one song. Again, the teacher holds the pupil’s hands to play Krabong Gun song.

 

4. The next stage is to play higher Na Paat. The teacher generally holds the pupil’s hands to play the Baht Sakuni song.

 

5. The final stage is the highest stage while learning the supreme song of all-Phra Phirab’s song.

 

The pupil will customarily resume the rest of the songs with somebody else.

 

The above-mentioned practice can be applied to other musical instruments as ranaat (xylophone) Pi (oboe) Tapone and Klong (Gong )  (drums)

 

As for the Piti Krob rite of other kinds of instruments i.e. Saw (fiddle), Jakay (zither and Klui (flute) including singing, actually not for Na Paat playing, the teacher can also hold the hands of the pupil to play the special tune of that type of instrument. Otherwise, cymbols may be placed on the head of the pupil to symbolize the initiation rite.

 

As a rule, the Piti Krob rite for those who learn Phre Phirab’s song must be at least 30 years old or have already been ordained or graned. His Majesty the King’s royal permission to play.

 

1). Preservation of good old tradition of Thai culture.

 

2). An opportunity for the pupils to pay respect and gratitude to their teachers which represents an examplary expression of being grateful to the teachers.

 

3). An act of boosting a morale of the pupils to play well their music.

 

4). Strengthening warmth, companionship and a sense of togetherness as well as compassion.






 

 



กลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

รูปร่างลักษณะกลองสะบัดชัย

รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้น เท่าที่พบมีแห่งเดียว คือกลองสะบัดชัยจำลองทำด้วยสำริด ขุดพบที่วัดเจดีย์สูง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลองสะบัดชัยดังกล่าวประกอบด้วยขนาดกลองสองหน้าเล็ก 1 ลูก กลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก ฆ้องขนาดหน้ากว้างพอ ๆ กับกลองใหญ่อีก 1 ใบ พร้อมไม้ตีอีก 3 อัน หน้ากลองตรึงด้วยหมุดตัดเรียบมีคานหามทั้งกลองและฆ้องรวมกัน

ส่วนที่พบโดยทั่วไป คือกลองสะบัดชัยที่แขวนอยู่ตามหอกลองของวัดต่าง ๆ ในเขตล้านนา ซึ่งมักจะมีลักษณะเหมือนกัน คือมีกลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก หน้ากว้างประมาณ 30 – 35 นิ้ว ยาวประมาณ 45 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุด ( ล้านนาเรียก ‘’ แซว่ ) โดยที่หมุดไม่ได้ตัดเรียบคงปล่อยให้ยาวออกมาโดยรอบ ข้าง ๆ กลองใหญ่ มีกลองขนาดเล็ก 2 – 3 ลูก เรียกว่า ลูกตุบ ‘’ กลองลูกตุบทั่วไปมักมีสองหน้าบางแห่งมีหน้าเดียว ขนาดหน้ากว้างประมาณ 8 – 10 นิ้ว ความยาวประมาณ 12 – 15 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุดเช่นกัน

ดังที่ได้กล่าวแล้ว กลองสะบัดชัยในปัจจุบันเป็นกลองที่ย่อส่วนมาจากวัด เมื่อย่อขนาดให้สั้นลง โดยหน้ากว้างยังคงใกล้เคียงกับของเดิม ลูกตุบก็ยังคงอยู่ ลักษณะการหุ้มหน้ากลองเหมือนของเดิมทุกประการ ตัวกลองติดคานหามสำหรับคนสองคนหามได้ ต่อมาไม่นิยมใช้ลูกตุบ จึงตัดออกเหลือแต่กลองใหญ่ ลักษณะการหุ้มเปลี่ยนจากการตรึงด้วยหมุดมาใช้สานเร่งเสียง เพราะสะดวกต่อการตึงหน้ากลองให้ตึงหรือหย่อนเพื่อให้ได้เสียงตามที่ต้องการ ข้างกลองประดับด้วยไม้แกะสลักซึ่งนิยมแกะเป็นรูปนาค และมีผ้าหุ้มตัวกลองให้ดูสวยงามอีกด้วย

บทบาทของกลองสะบัดชัย

อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันศิลปะการตีกลกองสะบัดชัย เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ได้นำชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมพื้นสู่ล้านนา และบทบาทของกลองสะบัดชัยจึงอยู่ในฐานะการแสดงในงานวัฒนธรรมต่าง ๆเช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมืองขบวนแห่ ฯลฯ

แต่โอกาสในการใช้กลองสะบัดชัยแต่เดิมมาจนถึงปัจจุบันยังมีอีกหลายประการ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในวรรณกรรมต่าง ๆมากมาย สรุปได้ดังนี้

ใช้ตีบอกสัญญาณ

การใช้กลองสะบัดชัยตีบอกสัญญาณนั้นมีหลายลักษณะ ดังนี้
สัญญาณโจมตีข้าศึก
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม ผูกที่ 2 กล่าวถึงสมัยพระญามังราย ตอนขุนครามรบพระญาเบิกที่เมืองเขลางค์ ขุนครามแต่งกลให้ขุนเมือง

เชริงเป็นปีกขวา ขุนเมืองฝางเป็นปีกซ้ายยกพลเข้าโจมตี กล่าวว่า ‘’ เจ้าขุนครามแต่งกลเส็กอันนี้ แล้วก็หื้อสัญญาริพลเคาะคล้องโย้ง ( ฆ้อง ) ตีกลองชัย ยกสกุลโยธาเข้าชูชนพระญาเบิก ยู้ขึ้นมาวันนั้นแล กลองชัยในที่นี้ คือกลองสะบัดชัยนั่นเอง เพราะในบริบทที่ใกล้เคียงกันนี้มีคำว่า

‘’ สะบัดชัย ตีคู่กับฆ้องอยู่ด้วย กล่าวคือในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พระยาลุ่มฟ้าห้อยกพลเข้าตีเชียงแสนชาวเมืองแต่งกลศึกโดยขุดหลุมพรางฝังหลาว แล้วตีปีกทัพล้อมไล่ทัพห้อให้ถูกกล

‘’ ยามแตรจักใกล้เที่ยงวันหร้อ ( ฮ่อ ) ยกพลเส็กเข้ามาชาวเราจิ่งเคาะคล้อง ( ฆ้อง ) ตีสะบัดชัย ยกพลเส็กกวมปีกกากุมติดไว้ และในสมัยพระญาติโลกราช ตอนหมื่นด้งนครรบชาวใต้ ( สองแคว ) ได้ให้พลโยธาซุ่มอยู่จนข้าศึกตายใจแล้ว กล่าวว่า ‘’ หมื่นด้งหื้อเคาะคล้องโย้ง ตีสะบัดชัย เป่าพุลุ ลาภา ปลี่หร้อยอพลเส็กเข้า ฝูงอยู่คุ่มไม้ก็สว่ายเดงช้างตีจองวองยู้เข้าไพ โห่ร้องมี่นันมากนัก
สัญญาณบอกข่าวในชุมชน
วรรณกรรมไทเขินเรื่อง ‘’ เจ้าบุญหลง ผูกที่ 5 ตอนชาวเมืองปัญจรนคาผูกผุสรถเพื่อเสี่ยงเอาพญาเจ้าเมือง อามาตย์ได้สั่งให้เสนาไปป่าวประกาศ ‘’ อมาตยแก้วพรองเมือง หื้อเสนาเนืองเอิ้นป่าว ค้อนฟาดหน้ากลองไชย เสียงดังไปผับจอด รู้รอดเสี้ยงปัญจรนคร ‘’ และผูกที่ 7 ตอนเจ้าพรหมปันจัดเตรียมทัพไปเยี่ยมอนุชาและมารดา ได้สั่งให้เสนาไปร้องป่าวให้ชาวเมืองเตรียมขบวนาร่วมด้วย ‘’ เจ้าก็ร้องเสนามาสู่ แทบใกล้กู่ตนคำปลงอาชญาทำโดยรีบ ถีบคนใช้หนังสือ กลองสะบัดชัยตีป่าวกล่าวไพร่ฟ้ามามวล

เป็นมหรสพ

วรรณกรรมเรื่อง อุสสาบารส ผูกที่ 1 ตอนพระยากาลีพรหมราชให้นำมเหสีสุราเทวีไปเที่ยวชมสวนอุทยานและในสวนอุทยานก็มีการเล่นมหรสพ ‘’ มหาชนา อันว่าคนทังหลายก็เหล้นมโหรสพหลายประการต่าง ๆ ลางพร่องก็ตีกลองสะบัดชัยตื่นเต้น ลางพร่องก็ตีพาทย์ค้องการะสับ ลางพร่องเยียะหลายฉบับ ฟ้อนตบตีนมือ ลางพร่องปักกะดิกเอามือตางตีน

ในวรรณกรรมประเภทคร่าวซอเรื่อง หงส์หิน ที่แต่งโดยเจ้าสุริยวงส์ ตอนมีงานสมโภชเจ้าหงส์หินได้เป็นเจ้าเมืองกล่าวถึงการเล่นมหรสพต่าง ๆ ซึ่งมีกลองสะบัดชัยด้วย ว่า

‘’ เจ็ดแบกเมี้ยน บ่ถูกตัวเขา ดาบลาเอา ท่ารบออกเหล้นกลองสะบัดชัย ลูกตุบไล่เต้น ขบวนเชิงต่อยุทธ์ ชนผัดหลัง แล้ววางอาวุธ พิฆาตข้าฟันลอง

และแม้ในงานศพของกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองก็มีกลองสะบัดชัยเป็นมหรสพ เช่น ที่ปรากฏในวรรณกรรมคร่าวซอเรื่องก่ำกาดำ ตอนงานศพของพระยาพาราณสี

‘’ เชิญพระศพมา ฐานตั้งไว้ กลางข่วงกว้างเมรุไชย ฟังดูกลองค้อง พิณพาทย์เสียงใส เภรีบัดไชย สรรญเสริญเจ้า

เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ

วรรณกรรมเรื่องอุสสาบารส ผูกที่12 ตอนพระขิตราชรบศึกชนะก็มีการตีกลองสะบัดชัยเฉลิมฉลอง ‘’ ส่วนว่าริพลโยธาพระขิตราชก็ตี กลองสะบัดชัย เหล้นม่วนโห่ร้องอุกขลุกมี่นันนัก เสียงสนั่นก้องใต้ฟ้าเหนือดินมากนัก ปุนกระสันใจเมืองพานมากนัก หากได้แล้วก็ตีค้อง กลองสะบัดชัย สงวนม่วนเหล้น กวัดแก่วงดาบฟ้อนไปมา

เครื่องประโคมเพื่อความสนุกสนาน

ในวรรรณกรรมประเภทโคลงเรื่องอุสสาบารส มีการตีกลองสะบัดชัย ดื่มสุราในเหล่าพลโยธายามว่างจากการรบ ดังปรากฏในโคลงบทที่ 130 ว่า

พลท้าวชมชื่นเหล้น สะบัดชัย อยู่แล

มัวม่วนกินสนุกใจ โห่เหล้า

ทัพหลวงแห่งพระขิต ชมโชค พระเอย่

กลองอุ่นเมืองท้าวก้อง ติ่งแตร

บทบาทและหน้าที่ของกลองสะบัดชัยจากหลักฐานทางวรรณกรรมดังกล่าวแสดงว่าแต่เดิมนั้นเกี่ยวพันกับฝ่ายอาณาจักรกษัตริย์หรือเจ้าเมืองและกองทัพทั้งนั้นต่อมาเมื่อสถาบันกษัตริย์เจ้าเมืองของล้านนาถูกลดอำนาจจนสูญไปในที่สุด กลองสะบัดชัยซึ่งถือได้ว่าเป็นของสูง จึงเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ไปอยู่กับ ศาสนจักร ซึ่งมีบทบาทคู่กับ ‘’ อาณาจักร มาตลอดศาสนสถานของพุทธศาสนาคือวัด ฉะนั้นวัดจึงน่าจะเป็นสถานที่รองรับกลองสะบัดชัยมาอีกทอดหนึ่ง และเมื่อเข้าไปอยู่ในวัดหน้าที่ใหม่ที่เพิ่มขึ้น คือตีเป็น ‘’ พุทธบูชา จนได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า กลองปูชา ( อ่าน ก๋องปู๋จา ) เวลาตีก็บอกว่า ตีกลองปูชา กระนั้นก็ตามหลายแห่งยังพูดว่า ตีกลองสะบัดชัย อยู่ดี

อย่างไรก็ตามแม้จะได้หน้าที่ที่ใหม่แล้ว หน้าที่เดิมที่ยังคงอยู่ก็คือเป็น สัญญาณ เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของชุมชนข่าวสารต่าง ๆ จึงมักออกจากวัด ปัจจุบันจึงได้ยินเสียงกลองจากวัดอยู่บ้าง ( เฉพาะวัดที่ยังไม่มีเครื่องเสียงตามสาย ) เพื่อเป็นสัญญาณเรียกประชุมสัญญาณบอกเหตุฉุกเฉิน สัญญาณบอกวันโกนวันพระและหน้าที่รองลงมาที่เกือบจะสูญหายแล้วาคือเป็น ‘’ มหรสพ ซึ่งเหลือเฉพาะในงานบุญคือ บุญสลากภัตต์ที่เรียกว่า ทานกวยสลาก ( อ่าน ‘’ ตานก๋วยสะหลาก )

Cr. faldzaza










 Wat Chai Sathan San Pu Loei, Doi Saket District, Chiang Mai 











Cr.Worarit Eampracha


Lakey Inspired