Tuesday, October 1, 2019

พิณเปี๊ยะ :Phin pia : Lanna Musical instrument



















                                                                                     Janine Yasovant : MPA.




A string musical instrument called "Phin Pia" used to be popular in the northern royal court in ancient time. Later, it was spread to the villagers who were quite rich and capable of playing musical instruments. It can be said that the headstock of Phin Pia on the top of the string instrument was an important component which was rare and very expensive. Phin Pia is a hard instrument to learn but its sound is very pleasant. Anyone who could play it 
would be praised specially. This made young Lanna men sought this instrument to practice because it would be beneficial for them during the visit to impress young maidens in the village in the night. This was the popular custom after working in the rice field in the day.

 Phin Pia is one of the most ancient Lanna musical instruments. It is evolved from Phin Thanu (Another type of string instrument). There are 2 -7 strings. The sound box is made from the coconut shell. The handle is made of hardwood grinded into cylindrical shape. One sharp end of the handle connects with the headstock.            

เครื่องดนตรีที่เรียกว่า พิณเปี๊ยะเคยนิยมอย่างแพร่หลายกันแต่ในราชสำนักฝ่ายเหนือสมัยโบราณ ต่อมาได้แพร่ออกมาสู่กลุ่มชาวบ้านที่พอมีฐานะ และมี ฝีมือทางดนตรี กล่าวกันว่า เพราะส่วนหัวพิณเปี๊ยะซึ่งอยู่ด้านบนของเครื่องดนตรี สาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญนั้นหายากและมีราคาแพง ประกอบกับ พิณเปี๊ยะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากและมีเสียงไพเราะมาก ดังนั้นใครที่เล่นเปี๊ยะได้ก็จะเป็นที่ยกย่องชื่มชมเป็นพิเศษ ทำให้หนุ่มๆ ล้านนาสมัยก่อนนิยมที่จะเสาะแสวงหาเปี๊ยะมาเล่นกัน เพราะจะได้เปรียบเครื่องดนตรีชนิดอื่นในเวลาที่ไปเยี่ยมเยือนสาวงามในหมู่บ้าน ยามค่ำคืน ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติ หลังจากทำงานในท้องไร่ท้องนาเวลากลางวัน

Phin Pia is one of the most ancient Lanna musical instruments. It is evolved from Phin Thanu (Another type of string instrument). There are 2 -7 strings. The sound box is made from the coconut shell. The handle is made of hardwood grinded into cylindrical shape. One sharp end of the handle connects with the headstock.            
                               
พินเปี๊ยะ เครื่องดนตรีโบราณล้านนาที่มีความเก่าแก่มากที่สุดชิ้นหนึ่งมีวิวัฒนาการมาจากพิณธนู มีสายตั้งแต่ 2-7 สาย กล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ด้ามทำด้วยไม้เนื้อแข็งเหลาเป็นทรงกระบอกปลายด้านหนึ่งเรียวแหลมสวมไว้กับหัวเปี๊ยะ

In Lanna Language, Pia means to show off. A young man from the village who had musical skill would travel to the young maiden's house to play this instrument to her family in the night. There were light from the lamps in the village that night. They called it "The visit to maiden's house" to find the marriage partner.  

ในภาษาล้านนาคำว่า “เปี๊ยะ” หมายถึง อวด หรือ แสดง  ชายหนุ่มจากหมู่บ้าน เอาความสามารถทางเล่นดนตรี ไปโชว์ให้ครอบครัวหญิงสาวดูยามค่ำคืน ที่มีการจุดตะเกียง สว่างไสว และเรียกการไปเยือนบ้าน อวดเพื่อนๆ ว่า ไปแอ่วสาว ..เพื่อจะเลือกคู่ครอง 

The music was the part of the dance for men and women who had to practice hard. Everything was in the observation of the family and their friends. To win her heart and accepted by her family, the man had to play the instrument well. Also, the maiden dressed and danced well in this occasion.          

ดนตรีจะเป็นส่วนหนึ่งของการร่ายรำ ทั้งชายหญิง และต้องมีการฝึกซ้อมอย่างดี เพราะทุกอย่างจะอยู่ในสายตาและการยอมรับของครอบครัวและเหล่า เพื่อนๆ การที่จะชนะใจของทุกคนที่ชายต้องมาเยือนบ้านของหญิงสาว การเล่นดนตรีได้ ก็เป็นสิ่งที่โดดเด่นชนะใจ ฝ่ายสาว..เจ้าก็จะมีการแต่งกายงดงาม ร้องรำทำเพลงได้ในเวลาเหมาะสม ...เช่นกัน 

It is said that the man who played this instrument might not wear his shirt because the the sound box made of coconut shell must be placed on his chest. Doing this, the sound would be more pleasant.              

มีกล่าวกันว่าฝ่ายชายเมื่อเล่นดนตรี อาจจะไม่สวม เสื้อ หรือต้องปลดกระดุมเสื้อ  เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่จะต้องเล่นแนบกับอก ด้านส่วนของกะลา เสียงดนตรีที่เกิดขึ้นจะไพเราะมาก 

Phin Pia was the only musical instrument for men and it was not wrong to show off tattoos on his chest and back or two arms. Pia is to show the beauty of his body to others. Compare to the present, men with good muscles or six packs are desirable by many in the world.    

พิณเปี๊ยะจึงเป็นเครื่องดนตรีของ ฝ่ายชายเท่านั้น และไม่ผิด กติกาอันใด คงจะเป็นการ การอวดลายสัก ที่มีตรงหน้าอกและหลัง หรือต้นเเขนทั้ง2 ข้าง หรือต้องการเปี๊ยะ คือโชว์ความงามของตนให้ ผู้อื่นได้ชม ซึ่งเป็น คล้ายๆกับ ซิกแพค ส่วนบนที่นิยมว่า สวยงาม ในรูปร่างที่ดี ที่เป็นที่พึงปรารถนาทั่งโลก


Made in 2018 at Pamsilapa, Jai Yong Art House.



สร้างปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ — at ผามศิลปะ เฮินศิลป์ใจ๋ยอง.
























             “เพลงพิณที่พระพุทธองค์ทรงสดับ”

พิณเปี๊ยะ ๔ สายไม้พญางิ้วดำ....สล่าเคี่ยน อักษร มาเอี้ยง
หัวพิณเปี๊ยะ.... ผลงานอาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ
กะโหล้งจารลายคำ “ปัญจสิงขรเทวบุตรคนธรรพ์ บรรเลงเพลงพิณถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”..... ลิปิกร มาแก้ว

สร้างปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ — at ผามศิลปะ เฮินศิลป์ใจ๋ยอง.

"The song heard by the Buddha" 


4 strings Phin Pia made of Ebony Wood  

Salah Kian Akson Ma-iang

Headstock of Phin Pia ... Made by 

Thongchai Srisukprasert

The picture of 

Kaho Langjarn Laikham 
"Panjasingkhon the angel and his group play the Phin music for the Buddha" 
... By Lipikorn Makaew 



Made in 2018 at Pamsilapa, Jai Yong Art House.








































Friday, June 7, 2019

ศรัณ สุวรรณโชติ Saran Suwannachot -Dance for Khun Luang Vilangka-















 Khun Luang Vilangka






ดอยม่อนล่อง  แม่ริม เชียงใหม่

Doi Monlong Maerim District ChiangMai THAILAND 














ครูนิก ศรัณ สุวรรณโชติ ฟ้อนถวาย


แด่ “ขุนหลวงวิลังคะ”































Cr. Thai News

Kru Nick Sarun Suwannachot performed the ceremonial dance for “Khun Luang Vilangka” 

The total length of both video clips is 7.28 min. We encourage you to watch them till the end. It is the great mission we accomplished at Mon Kwam Lhong, the monument of Khun Luang Vilangka… Thank you for everyone behind this success.





   
Khun Luang Vilangka ขุนหลวงวิรังคะ

The legend about Khun Luang Vilangka from the Lua tribe and Phra Nang Chamdhevi, the female king of Hariphunchai City reflects the relationships and the settlements of Lua and Meng (ancient Mon) tribes as well as Thai Puan people residing at the low land of the Ping River. It was the show of greatness for both city rulers as well as the tactics to overcome each other. During 1300 B.E., Hariphunchai City was governed by Phra Nang Chamdhevi and it was the city of Mon or Meng people. Meanwhile, the foothill of Doi Suthep was the settlement of Lua tribe ruled by Khun Luang Vilangka. According to legend, Khun Luang Vilangka had unrequited love for Phra Nang Chamdhevi and wished to marry her but Phra Nang Chamdhevi didn’t want to be in love with Khun Luang from Lua tribe which are culturally inferior to Mon people at that time. Khun Luang Vilangka sent emissaries several times for the marriage but Phra Nang Chamdhevi refused the proposal and gave him several conditions such as constructing a pagoda with the similar features as Phratat Hariphunchai pagoda and throwing long spear to Hariphunchai city. If these two conditions are fulfilled, she will agree to marry him.           

ตำนานเกี่ยวกับขุนหลวงวิรังคะ ชนเผ่าลัวะ และพระนางจามเทวี สะท้อนถึงความสัมพันธ์ และถิ่นที่อยู่ของชาวลัวะและเม็งหรือมอญโบราณ รวมทั้งกลุ่มไทยพวน บริเวณที่ราบลุ่มบนฝั่งแม่น้ำปิงซึ่งมีมาตั้งแต่อดีตเป็นการแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของเจ้าเมืองทั้ง 2 เมือง รวมทั้งเทคนิควิธีในการที่จะเอาชนะกันและกัน ในสมัยที่พระนางจามเทวีปกครองเมืองหริภุญไชย ราว พ.ศ. 1300 นครหริภุญไชยเป็นนครของชนชาติมอญหรือเม็ง ขณะเดียวกัน บริเวณเชิงดอยสุเทพ เป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะ มีขุนหลวงวิรังคะเป็นเจ้าเมือง หรือหัวหน้าขุนหลวงวิรังคะ มีความรักในพระนางจามเทวี ประสงค์ที่จะอภิเษกกับพระนาง แต่พระนางไม่ปรารถนาจะสมัครรักใคร่กับขุนหลวงลัวะ เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่ามอญในสมัยนั้น ขุนหลวงได้ส่งทูตมาเจริญไมตรีขอนางอภิเษกด้วย พระนางก็ผัดผ่อนหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆได้แก่ ขอให้ขุนหลวงสร้างเจดีย์ที่มีขนาด และลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย ให้ขุนหลวงพุ่งเสน้า(หมายถึงหอกด้ามยาวมีสองคม) มาตกที่ในเมือง พระนางจึงจะอภิเษกสมรสด้วย







Khun Luang Virangka was powerful and skilled in spear throwing. The first shot landed outside the city wall of Hariphunchai in the Northwest Now called "Nhong Sanao", Phra Nang Chamdhevi saw that it would be more dangerous if Khun Luang Virangka can throw the spear into the city wall according to the agreement. she therefore used black magic on Khun Luang Virangka using a fragment of her attire for making hat and betel leaves to the pieces betel for chewing and putting the tip of the betel to dip in her menstrual blood She ordered her emissaries to send these things to Khun Luang Vilangka. Very delightful, Khun Luang Virangka received gift from her. Putting hat on his head and chewing betel that she brought him. These two things Lanna people found “horrible” that weaken the power of Khun Luang Vilangka. Next time he threw spear, the power dropped and the spear fell at the foothill of Doi Suthep Mountain. The villagers call it "Nhong Sanao" as well. Once Khun Luang Vilangka lost his power, he fled from the city. 

ขุนหลวงวิรังคะ เป็นผู้ทรงพลังและชำนาญในการพุ่งเสน้า เมื่อพุ่งครั้งแรกไปตกที่นอกกำแพงเมืองหริภุญไชย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า “ หนองเสน้า”พระนางจามเทวีเห็นว่าจะเป็นอันตรายยิ่ง ถ้าขุนหลวงวิรังคะพุ่งเสน้ามาตกในกำแพงเมืองตามสัญญาพระนางจึงใช้วิชาคุณไสยกับขุนหลวงวิรังคะ โดยการนำเอาเศษพระภูษาของพระนาง มาทำเป็นหมวกสำหรับชายนา เอาใบพลูมาทำหมากสำหรับเคี้ยว โดยเอาปลายใบพลูมาจิ้มเลือดประจำเดือนของพระนาง แล้วให้ทูตนาของสองสิ่งนี้ไปถวายแด่ขุนหลวง ขุนหลวงได้รับของฝากจากพระนางเป็นที่ปลาบปลื้มอย่างยิ่ง นำหมวกใบนั้นมาสวมลงบนศีรษะ และกินหมากที่พระนางนำมาถวาย ซึ่งของทั้งสองสิ่งนี้ ชาวล้านนาถือว่าเป็นของต่ำ ทำให้อำนาจและพลังของขุนหลวงเสื่อมลง เมื่อพุ่งเสน้าครั้งต่อมา แรงพุ่งลดลง เสน้ามาตกที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ชาวบ้านเรียกว่า “หนองเสน้า” เช่นเดียวกัน  เมื่อขุนหลวงเสื่อมวิทยาคุณเช่นนั้น ก็หนีออกจากบ้านเมืองไป

Before his death, Khun Luang Vilangka asked civil officers to bury his body at the place where he could see Hariphunchai city at any time. The soldiers organized the funeral procession of Khun Luang Vilangka from the foothill of Doi Suthep. Up to the top of Doi Suthep to find the place to be buried according to the order. The funeral procession passed under a type of ivy vines called "Krua Khao Long" which believed that  anyone passed through it can be lost. The funeral procession people strayed and scattered in different directions. Some musicians strayed along with their instruments. According to legend, The mountain that the musician lost will appear like a musical instrument on the top of Suthep-Pui mountain There will be various mountain names, namely Doi Kong, Doi Klong, Doi Ching, Doi Swa. Some places are narrow. And the cover of the coffin blown down in the area is called a Kew Maew Plew (the word "Maew" means the coffin cover made of bamboo frame Used to decorate the top of the coffin lid) Civil officers, who carried the coffin of Khun Luang Vilangka traveled to climb the foothills to the north To a certain area, the coffin was overturned from the bearing. Civil officers therefore buried the body of Khun Luang Vilangka at this mountain location which can be seen at Hariphunchai city at any time. This mountain peoples called villagers. "Doi Kwam Long" (Lhong means coffin). Currently, the villagers call this mountain name "Doi Kwam Lhong" is located on the mountain Above the Mae Sa Waterfall, Mae Rim District, Chiang Mai Province.

ก่อนสิ้นชีวิต ขุนหลวงวิรังคะได้ขอให้เสนาอำมาตย์นำศพของท่านไปฝังไว้ ณ สถานที่ที่ขุนหลวงจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา  ทหารได้จัดขบวนศพของขุนหลวงจากเชิงดอยสุเทพ ขึ้นสู่บนดอยสุเทพ เพื่อหาสถานที่ฝังตามคำสั่ง ขบวนแห่ศพได้ลอดใต้เถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง เรียกว่า “เครือเขาหลง” ซึ่งเชื่อว่าถ้าผู้ใดลอดผ่านจะทำให้พลัดหลงทางกันได้  ขบวนแห่ศพขุนหลวงได้พากันพลัดหลง กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง นักดนตรีบางคนพลัดหลง ไปพร้อมกับเครื่องดนตรีของตน  ตามตำนานเล่าว่า ภูเขาที่นักดนตรีผู้นั้นหลง จะปรากฏมีรูปร่างคล้ายเครื่องดนตรีนั้น ๆ บนยอดเขาสุเทพ-ปุย จะมีภูเขาชื่อต่าง ๆ คือ ดอยฆ้อง ดอยกลอง ดอยฉิ่ง ดอยสว่า บางแห่งเป็นที่แคบ และฝาครอบโลงศพปลิวตกบริเวณนั้นเรียกว่า กิ่วแมวปลิว (คำว่า “แมว” หมายถึง ฝาครอบโลงศพที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ใช้ตกแต่งด้านบนของฝาโลงศพ)  เสนาอามาตย์ที่หามโลงศพของขุนหลวง ได้เดินทางไต่ตีนเขาไปทางทิศเหนือ ถึงบริเวณแห่งหนึ่ง โลง ศพได้คว่ำตกลงจากที่หาม เสนาอามาตย์จึงได้ฝังศพของขุนหลวงไว้ ณ สถานที่บนภูเขาแห่งนี้ ซึ่งจะสามารถ มองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ยอดภูเขานี้ชาวบ้านเรียกว่า “ดอยคว่ำหล้อง” (หล้อง หมายถึง โลงศพ)  ปัจจุบัน ชาวบ้านยังเรียกชื่อภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคว่ำหล้อง” ตั้งอยู่บนภูเขา บริเวณเหนือน้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่






The mountain peak is square cut shaped like a coffin. On the top of the mountain, there is a shrine of Khun Luang Vilangka. The villagers at the foot of the mountain said that full moon night Sometimes the music can be heard on the top of the mountain. Believed that the spirits of the Khun Luang Vilangka were on Doi Kwam Lhong Mountain.  At the hillside area There is a village in Lua, a village called Ban Kae, derived from the name of Khun Luang Vilangka. Believed that these Lua people Is the lineage of Khun Luang Vilangka. At this village There is a shrine that presides over the spirit of Khun Luang Vilangka. And two left and right soldiers of the royal court The villagers will celebrate the spirit of the Khun Luang Vilangka and his soldiers once a year. The villagers said The spirit of Khun Luang Vilangka will be in 3 places, namely, on Doi Kwam Lhong. The shrine at Mae Ka, Mae Rim District and another area is Doi Kham, Mueang District, which is located south of Doi Suthep. Wat Phra That Doi Kham On this temple there is a monument to Khun Luang Vilangka, enshrined at the temple yard near the pagoda. And at this Doi Kham Is the place of the soul of the chief Lua Which is the ancestor of Khun Luang Vilangka, called Phu Sae Ya Sae. Buffaloes will be used as the offering one a year or every 3 years. 

ยอดเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัด ลักษณะคล้ายโลงศพ บนยอดเขามีศาลของขุนหลวงวิรังคะตั้งอยู่ ชาวบ้านบริเวณเชิงเขาเล่าว่า กลางคืนเดือนเพ็ญ บางครั้งจะได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงบนยอดเขา เชื่อกันว่าวิญญาณของขุนหลวงสถิตอยู่บนดอยคว่ำหล้อง  บริเวณเชิงเขา มีหมู่บ้านลัวะหมู่บ้านหนึ่ง ชื่อว่า บ้านเมืองก๊ะ มาจากชื่อของขุนหลวงวิรังคะ เชื่อกันว่าชาวลัวะเหล่านี้ เป็นเชื้อสายของขุนหลวงวิรังคะ ที่หมู่บ้านแห่งนี้ มีศาลที่สถิตวิญญาณของขุนหลวง และทหารซ้ายและขวาของขุนหลวงอีกสองศาล ชาวบ้านจะเซ่นสรวงดวงวิญญาณขุนหลวงและทหารปีละครั้ง ชาวบ้านเล่าว่า ดวงวิญญาณของขุนหลวงจะสถิตอยู่ 3 แห่งได้แก่ บนดอยคว่าหล้อง ศาลที่บ้านเมืองก๊ะ อำเภอแม่ริม และอีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณดอยคำ อำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้ของดอยสุเทพ  ปัจจุบัน บนยอดดอยมีวัดชื่อว่า วัดพระธาตุดอยคำ บนวัดแห่งนี้มีอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะ ประดิษฐาน ที่ลานวัดใกล้เจดีย์ และที่ดอยคำแห่งนี้ เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของหัวหน้าลัวะ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของขุนหลวงวิรังคะ ชื่อว่า ปู่แสะ ย่าแสะ ซึ่งจะมีการเลี้ยงผีปู่แสะ ย่าแสะ ด้วยควายทุกปี หรือ 3 ปีครั้ง

Reference:
Napasnant Phumsukho, B.E. 2548, Northern Folklore, Bangkok: Baan Nang Sue press, p46-50  

แหล่งที่มา
นภัสนันท์ พุ่มสุโข.2548. ตำนานพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ. หน้า 46-50.

Sanpol Yasovant : Translator 





Lakey Inspired