Saturday, January 11, 2020

ประเพณีตานข้าวใหม่และตานหลัวหิงไฟพระเจ้า วัดต้นเกว๋น เชียงใหม่




 


                                        วัดต้น แกว๋น เชียงใหม่  วัดอินทราวาส  ต.หางดง จ.เชียงใหม่ 


Wat Intharawat (Wat Ton Kwen)




               



































รศ.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

Assoc. Prof.Woralun Boonyasurat: Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University  

การตานข้าวใหม่ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ชาวบ้านจะนำข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวแล้วเก็บไว้บนยุ้งฉางที่บ้านมานึ่งให้สุกเพื่อนำมาตักบาตร ทานขันข้าว อุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับและถือเป็นการขอขมาพระแม่โพสพก่อนจะนำมารับประทาน การทานข้าวใหม่ในแต่ละบ้าน หรือแต่ละท้องถิ่นจะมีวิธีการนำข้าวมาถวายแตกต่างกันออกไป เช่น ถวายเป็นข้าวนึ่งสุกบ้าง เป็นข้าวจี่บ้าง หรือข้าวหลาม เป็นต้น แล้วนำมาใส่บาตรถวายพระสงฆ์

"Tan Khao Mai" (New rice ceremony) is a hereditary tradition that exists for a long time. Villagers bring newly harvested rice from their barns to make sticky rice to give alms to the monks in order to make merits for the passing relatives and to make an apology to Phra Mae Posop(the goddess of earth) before eating rice. Each village or the local region has a slightly different variation of the ceremony. Rice can be cooked into sticky rice, grilled sticky rice or glutinous rice roasted in bamboo joints before giving alms to the monks.          

ตานหลัวหิงไฟพระเจ้า

Tan lua hing Fai Phra chao 

        ชาวล้านนาคำว่า “หลัว” หมายถึง “ฟืน” คำว่า “หิงไฟ” หมายถึง “ผิงไฟ” คำว่า “พระเจ้า” ในที่นี้หมายถึง “พระพุทธเจ้า” เมื่อถึงเทศกาลพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านจะไปหาหลัว(ฟืน) ตามป่าและไม้ที่นิยมนำมาประกอบพิธีทานหลัวหิงไฟพระเจ้าคือ “ไม้ชี่” มีลักษณะเป็นเถาและเนื้อข้างในมีสีขาว ขึ้นอยู่ตามป่า และยังมีไม้อื่นๆ เช่น ไม้โมกมัน ไม้โชค และไม้มะขาม เป็นต้น โดยตัดไม้ยาวท่อนละประมาณ ๑ วา แล้วมัดเป็นมัดๆ นำไปกองรวมกันที่ข่วงวัด(ลานวัด) หรือหน้าวิหาร ตามความเหมาะสมของสถานที่ โดยกองสุมเป็นวงกลม

In Lanna language, Lua means firewood, Hing Fai means heat with fire and Phra Chao means the Buddha. In this ceremony, villagers go to find some firewood in the forest. The most popular wood for this is "Mai Chee" which is plant with vines and has white texture. There are also other types of suitable wood such as Mokman wood, Chok wood and tamarind wood. firewoods are measured and cut amd the brought in the temple grounds or in front of the viharn. This depends on the suitablity of the place and the firewoods are arranged in circular shape.             

พิธีการทานหลัวหิงไฟพระเจ้า มัคทายกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะจัดเตรียมพานข้าวตอกดอกไม้ เรียกว่า “ขันนำทาน” และหลัว จำนวน ๑ มัด ถวายพระสงฆ์ โดยไหว้พระรับศีล และกล่าวคำถวาย แล้วประเคนขันนำทานและหลัวหน้าองค์พระประธาน บางแห่งก็ประเคนประธานสงฆ์ พระสงฆให้พรตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น จากนั้นเวลาประมาณใกล้รุ่ง ตี ๔ – ๕ เจ้าอาวาสหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้จุดกองหลัว และตีฆ้อง กองบูชาป่าวประกาสให้ชาวบ้านร่วมอนุโมทนาและเตรียมตัวมาทำบุญที่วัดในเวลารุ่งเช้า

For this ceremony, the ceremonial leader will prepare some flowers other things called Khan Nam Than and a group of firewood (Lua) to give the monks. The monks give blessing. Then Khan Nam Than and firewood will be placed in front of the main buddha image or the lead monk. Lastly, the monks give blessing according to the tradition of each village. In the dawn around 4 - 5 am. The abbot or the ceremonial leader will light the fire and hit the gong to announce the ceremony so that the villagers can come to temple in the morning.      

อนุชิต   ณ สิงห์ทร นักวิชาการศึกษาศิลปะและวัฒนธรรม เขียน
Written by Anuchit Na Singthorn, an academician on art and culture 


     





































































































































ขอขอบคุณ Worarit Eampracha

No comments:

Post a Comment

Lakey Inspired