Thursday, September 14, 2017

Bang Rachan

History of Siam ( Thailand ) 


Bang RaChan Village 


Singburi Province THAILAND




                                                     


                                                                                       










Bang Rachan ( Bang Rajun )



This article is about the Thai village. For 2000 Thai film, see Bang Rajan (film).



                                                      






The monument of 11 leaders of Bang Rachan village, as depicted in the seal of Sing Buri Province.

The village of Bang Rachan was historically located north of Ayutthaya, the old capital of Siam and the predecessor state to modern Thailand, situated in Khai Bang Rachan District of Sing Buri Province nowadays. The village is remembered in Thai history for its alleged resistance against the Burmese invaders in Burmese–Siamese War (1765–1767) that ended the Ayutthaya Kingdom.


According to Thai tradition, the Burmese northern invasion army led by Gen. Ne Myo Thihapate was held up for five months at Bang Rachan, a small village north-west of Ayutthaya by a group of simple villagers.[1] However, not all the points of this traditional Thai story could be true as the entire northern campaign took just over five months (mid-August 1765 to late January 1766), and the northern army was still stuck in Phitsanulok, in north-central Siam, as late as December 1765. Burmese sources do mention "petty chiefs" (cf. "mueang") stalling the northern army's advance but it was early in the campaign along the Wang River in northern Siam (not near Ayutthaya) during the rainy season (August–October 1765). The Burmese general who was actually stationed near Ayutthaya was not Thihapate but rather Maha Nawrahta, whose southern army was waiting for the northern army to show up to attack the Siamese capital.[2] It appears that the three verified events—petty chiefs resisting Thihapate in the north, Thihapate's campaign period of five months, and Maha Nawrahta staking out by Ayutthaya—have merged to create this popular mythology.

Nonetheless, the Thai version appears to be an ingrained part of Thai popular culture. The 2000 Thai film Bang Rajan dramatizes the Thai version of events.

One of the more iconic images is that of Nai Thong Men, who becomes drunk and furiously rides a gigantic water buffalo into battle against the Burmese. The legacy of the battle has been likened to the legacy of the Battle of the Alamo in the Republic of Texas and, by extension, the place of the Alamo in the military history of the United States: a symbol of determination and heroism against overwhelming odds.

Historical revisionism

In 1767, Burmese armies entered Siam. While Burmese accounts narrate the invasion as having a deliberate and predetermined ambition - credited to the King Mang Ra - other sources and analysts of the period, most notably Damrong Rajanubhab, the father of Thai history - consider this to be historical revisionism and believe that the Burmese did not initially invade with the intention of permanent conquest nor with any designs on Ayutthaya itself.

The Burmese forces encountered little competent resistance from the Siamese and advanced close to the capital, but refused to attack due to uncertainty regarding the strength of the forces they would have to face. There was much raiding of the surrounding country and, in addition to the general policy which required the submission of the Siamese, they began to demand the unmarried daughters of families as well, a policy which provoked the Siamese people into resistance.
The beginning of resistance and the first notable appearance of Bang Rajan occurred when a group of Siamese from various villages - notably Sibuathong, Krap and Pho Thale - led by Nai Thaen, Nai Choti, Nai In, Nai Muang, Nai Dok and Nai Thong Kaeo lured a group of Burmese raiders into a forest with the promise of young women and then turned upon them, killing the entire group of twenty. After this they retreated to Bang Rachan where, we are also told, most of the population of the villages of Mueang Wiset Chaichan, Mueang Sing and Mueang San had fled.

Bang Rajan is recorded as being ideally situated: "A place where foodstuffs were plentiful...a village on high ground and...it was difficult for the enemy to get at."


In addition to its ideal situation geographically and its position as a focus of those fleeing the Burmese, Bang Rajan had at this early point approximately 400 fighting men who elected five leaders amongst themselves and worked on the erection of fortifications. There was also a Buddhist priest, Thammachot, who had been invited into the village monastery where he was held in great veneration by the inhabitants, who believed him to have great knowledge and power with regard to spells, charms and other incantations.

The Burmese leaders camped at Mueang Wiset Chaichan, were aware of the slaughter of their men by the Siamese who had fled to Bang Rajan and sent a small force of about a 100 men to capture them. The Burmese were taken by surprise when they were attacked while resting and were almost entirely wiped out by the force led by Nai Thaen, who had been elected leader of Bang Rajan.

News of this victory spread quickly across the country and resulted in many more people coming out of hiding to join the resistance movement, swelling the ranks camped within Bang Rachan to 1,000 fighting men. This amateur force was well organized along the lines of a professional military unit but were considerably disadvantaged by their lack of equipment, especially firearms, although this was countered to an extent by their great faith in the presence of the priest Thammachot and his various magic spells and talismans.

Well aware that he was facing heavy resistance, the Burmese leader at Wiset Chaichanw requested reinforcements before sending another force against the village. He had underestimated them, as they managed to rout a second army of about 500 as well as a third force, again greater in numbers and under a new leader.

A pivotal event occurred during the fourth attack on the village by a force of 1,000 Burmese under Surin Chokhong. This force was not immediately defeated by the Siamese villagers but their commander was killed and after much fighting the villagers retreated. At this point the carelessness of the Burmese appeared once again as they lowered their guard to begin preparing food and caring for the corpse of their commander. Seeing this, the villagers quickly returned to the field and the surprised Burmese force was truly routed and lost most of its manpower due to the determined pursuit by the Siamese villagers. While victorious again, the leader of Bang Rajan, Nai Thaen, was shot in the knee - an event which would have grave consequences for the resistance as it meant he was no longer capable of fighting or leading from the front.

The aftermath of this fourth battle saw both sides receive reinforcements, with Bang Rajan selecting a new leader to replace Nai Thaen - a fighter named Nai Chan who was famed for his ferocity and "bristling moustache". The fortunes of Bang Rajan remained good under Nai Chan, who saw their forces increase and achieve ever greater levels of organization, and their reputation grow to such extent that the Burmese came to fear them and the raiders had great trouble recruiting troops to send against the village.

After seven attacks and seven defeats, an eighth force, under a Mon commander who had lived in Siam, volunteered to take an army and promised to defeat Bang Rachan. What set this commander apart from the previous Burmese leaders was his knowledge of the land and the Siamese and his lack of arrogance - he did not underestimate the villagers and adjusted his tactics to disadvantage them. He progressed slowly towards the village by building a series of forts along the route and, when faced with the villagers, refused to fight except from within these fortifications.
The lack of artillery was now crippling for the villagers, as they could not destroy the forts built by the Burmese and suffered great casualties from infantry assaults upon the forts. One of the Siamese leaders - Nai Thong Men - became drunk and furious and, upon a water buffalo, took a force of men and attacked the Burmese in what remains one of the iconic tales and images from the legend of the village. He was killed and his men routed - the first time the Burmese had defeated the villagers.
Bang Rajan sent for help from Ayutthaya in the form of cannons they could use against the forts, but the capital displayed a diffidence typical of its strategy throughout the war and refused the request. However, one man, Phraya Rattanathibet, was sent to help them forge their own weapons. Unfortunately for the village, the guns they cast were cracked and useless. Soon after this, Nai Then died of the wound to his knee and the other great leaders, Nai Chan and Khun San died of wounds taken while trying to take the Burmese forts.

The village was by now dispirited and hopeless, and faced a siege by the Burmese in the form of cannon fire, siege towers and tunnelling under the village walls. Eventually the village was overrun despite resistance to the end - five months after the first act of resistance and the only notable act of successful opposition by a Siamese force in a war characterized by the failure of Ayutthuya, its professional armies and its Generals.

The historical settlement is located in Khai Bang Rachan District, Sing Buri Province. A monument to the battle is situated 13 kilometers south-west of the town on Route 3032.






ปี พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกเข้ามาในขอบคัณธสีมาด้านด่านระแหงแขวงเมืองตาก โดยกวาดต้อนผู้คนตัดกำลังของกรุงศรีอยุธยาทางหัวเมืองเหนือ ในขณะที่มังมหานรธา ตีเข้ามาทางหัวเมืองใต้ สกัดกำลังจากชายทะเลทิศใต้ โดยหมายใจบรรจบเข้าที่กรุงศรีอยุธยา

ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน

ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 7 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอกไม้ และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งกองสู้กับกองทัพพม่า

การตีค่ายบางระจัน
การรบครั้งที่ 1
ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ 100 เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน 200 ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย
การรบครั้งที่ 2
เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล 500 มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น 700 คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ 2
การรบครั้งที่ 3
เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น 900 คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ
การรบครั้งที่ 4
การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าหยุดพักรบประมาณ 2-3 วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ1,000 คน ทหารม้า 60 สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล 200 พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล 200 ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข่องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพิ่มขึ้นอีกเป็นลำดับ
การรบครั้งที่ 5
พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ 10-11 วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป
การรบครั้งที่ 6
นายทัพพม่าครั้งที่ 6 นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล 100 เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย
การรบครั้งที่ 7
เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1,000 เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเขี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 1,000 เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน
การรบครั้งที่ 8
การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รับตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล 2,000 พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง
สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง 3 ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใช้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก
วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง)
ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ 4 นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2309 หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ
ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ 2 กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร
เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 (วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2309) รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้


อนุสาวรีย์

อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน

ตราประจำจังหวัดสิงห์บุรีในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 แสดงภาพอนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน
กองหัตถศิลป กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการหล่ออนุสาวรีย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปติดตั้งได้ใน พ.ศ. 2512โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี หมายเลข 3032 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 มีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....."

ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน"

จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน:

"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
ณ วันที่... เดือน... พุทธศักราช ๒๕๑๙

เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว
นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง
พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ

ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว
ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย
รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ

รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น

เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน.
ในวรรณกรรมร่วมสมัย

วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้ถูกรับรู้ในสำนึกของคนไทยยุคปัจจุบัน ด้วยการกล่าวถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น เพลงศึกบางระจัน ของขุนวิจิตรมาตรา ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เช่น บางระจัน (พ.ศ. 2543) โดย ธนิตย์ จิตนุกูล และ (พ.ศ. 2558) โดย บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น เป็นต้น







































No comments:

Post a Comment

Lakey Inspired