Janine Yasovant: Writer
In 2003 and 2005, Tony Jaa (Panom Yeerum), Thai action film star, was the number one actor of martial arts films in Thailand with hits such as Ong Bak and Tom Yam Goong. With the same director Prachya Pinkaew and the stunt choreographer Panna Rithikrai, Tony Jaa developed the Thai martial arts genre to a new, heightened level.
Now, without Tony Jaa, the same team guardedly made a film with a new female actress, Yanin Vismitananda, known as Jeeja. (Jeeja is a Phillipines-tagalog word that means “Violin”).
Jeeja's background includes ballet when she was young and later taekwondo and other martial arts, all because of serious health problems as a child and the desire to strengthen her body and her spirit. For this film, she also learned gymnastics, Muay Thai martial arts and trained very hard like man in order to accomplish difficult and complex stunts.
Today. Jeeja is 23 years old. It took four years to produce this movie. The first two years she trained in Muay Thai and gymnastics as well as film acting and research about autistic children. The next two years were dedicated to production and more advanced stunt training.
In this film, Jeeja performes in the role of “Zen”, an autistic girl with talents in martial arts and ironically the reason why this film is called “Chocolate” is because Zen does like to eat a lot of chocolates. In the story, Zen lives with her beloved mother who is sick with cancer and increasingly impoverished because of costly medical expenses. Zen discovers that many people are indebted to her mother. She will do everything she can in order to extend the life of her mother including fighting with many opponents — not only dangerous martial artists but also corrupt politicians. In addition. as you can imagine, Zen has to fight with hundreds of bad men. Some of them are Thai boxers, some are women boxers from Korea and Europe. There are many risky and interesting scenes including a thrilling chase scene in Bangkok’s rambling BTS sky train.
In February 2008, the atmosphere in Thailand is warmer and the film “Chocolate” was heavily promoted to the press. It was interesting to see the favorable audience responses as Jeeja managed to fight like a man, a telling combination of Bruce Lee, Jacky Chan and Tony Jaa styles in one film featuring a woman. .
In my opinion, in the future Jeeja can prove herself to become an action "star" with her own style. I think the true meaning of chocolate is not only the sweetness and bitterness tastes of chocolate, but also the happiness and sadness of life.
ในปีพ.ศ. 2546 และ 2548 โทนี่ จา (พนม ยีรัมย์) ดาราภาพยนตร์แอ็กชั่นชาวไทยเป็นนักแสดงภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้อันดับหนึ่งของประเทศไทย มีผลงานยอด นิยมเช่นเรื่อง องค์บาก และต้มยำกุ้ง ผู้กำกับคนเดิม ปรัชญา ปิ่นแก้วและผู้กำกับคิวบู้ พันนา ฤทธิไกร โทนี่ จาได้พัฒนาภาพยนตร์การต่อสู้ไปสู่ระดับที่สดใหม่และโดดเด่นกว่าเดิม
ครั้งนี้ไม่มีโทนี่ จา ทีมงานเดียวกันนี้ก็สร้างภาพยนตร์โดยมีนักแสดงหญิงคนใหม่ญานิน วิสมิตะนันทน์หรือที่เรียกกันว่า จีจ้า (จีจ้าเป็นภาษาตากาล๊อกมีความหมายว่าไวโอลิน)
จีจ้าเรียนบัลเลต์ตอนวัยเด็กและต่อมาก็เรียนเทควันโด้และศิลปะป้องกันตัวอย่างอื่นเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพในวัยเด็กและความต้องการความแข็งแกร่งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ เธอได้เรียนมวยไทยและฝึกฝนอย่างหนักเช่นเดียวกับบุรุษเพื่อที่จะแสดงบทเสี่ยงชีวิตที่ยากและซับซ้อนได้สำเร็จในตอนนี้ จีจ้ามีอายุ 23 ปี เธอได้ใช้เวลา 4 ปีเพื่อที่จะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ สองปี แรกใช้ในการฝึกฝนมวยไทยและยิมนาสติกและฝึกการแสดงและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่เป็นออทิสติก สองปีหลังใช้ในการถ่ายทำและฝึกฝนบทสตั้นท์ที่ยาก กว่าเดิม
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จีจ้ารับบทเป็น “เซน” เด็กออทิสติกที่มีพรสววรค์ด้านศิลปะการต่อสู้และน่าขบขันตรงที่เหตุผลว่าทำไมภาพยนตร์เรื่องนี้เรียกว่าช็อกโกแลต ก็เพราะว่าเซนชอบทานช็อกโกแลตปริมาณมาก เรื่องมีอยู่ว่า เซนอาศัยอยู่กับมารดาที่เป็นโรคมะเร็งและมีฐานะยากจนลงทุกทีเพราะค่ารักษาพยาบาลที่แพงมาก เซน พบว่าหลายคนเป็นหนี้แม่ของเธอ เธอจึงทำทุกอย่างเพื่อยืดชีวิตให้กับแม่ของเธอ ให้อยู่นานที่สุดรวมทั้งการต่อสู้กับศัตรูมากมาย ไม่เพียงแต่นักสู้ต่างๆเท่านั้นแต่ยัง รวมไปถึงนักการเมืองทุจริตอีกด้วย นอกเหนือจากนี้ก็เป็นที่คาดเดาได้ว่า เซนต้อง ต่อสู้กับนักเลงนับร้อยคน บางคนก็เป็นนักมวยไทย บ้างก็เป็นนักมวยหญิงจากประเทศเกาหลีและยุโรป มีฉากที่เสี่ยงและน่าสนใจอยู่หลายฉากรวมทั้งการไล่ล่าในรถไฟฟ้าบีทีเอส
ปรัชญา ผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก และ ต้มยำกุ้งที่ทำให้โทนี่ จาเป็นนักแสดงชื่อดังระดับชาติ ได้มองเห็นแววจีจ้าตั้งแต่ห้าปีทีแล้วตอนที่เธอมาคัดตัวในภาพยนตร์ของพันนา ฤทธิไกร เรื่อง เกิดมาลุย (“Born to Fight”)ปรัชญากล่าวไว้ว่า พวกเรารู้สึกประทับใจในความสามารถของเธอแต่ในเวลานั้นยัง ไม่มีโครงการที่เหมาะสมสำหรับเธอ เราได้ตัดสินใจให้เธอฝึกฝนทักษะการแสดง
โดยการให้เธอฝึกหัดกับทีมงานสตันท์
ในเวลานั้นจีจ้ายังเป็นนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เธอตัดสินใจเลิกเรียนเมื่อเธอพบว่ายากจะจัดสรรเวลาการเรียนและการฝึกซ้อม จีจ้ากล่าวว่า ความก้าวหน้าในการฝึกซ้อมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหยุดการเรียนแต่หลังจากที่เธอถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จ จีจ้ากลับไปศึกษาต่อ คราวนี้เธอสมัคร เรียนที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ วิชาเอกภาพยนตร์
เธอยอมรับว่าสี่ปีของการฝึกฝนนั้นเหน็ดเหนื่อยเป็นบางครั้งและขอหยุดพักเป็นบาง คราว เธอกล่าวว่า บางครั้งก็เบื่อและอยากจะหนีไป แต่ทุกครั้งที่หยุดพักก็จะคิดถึง การฝึกซ้อมแล้วกลับมาที่โรงยิมก่อนเวลาที่ได้วางแผนไว้ จีจ้ายังได้ฝึกการแสดงอย่างหนักเพื่อที่จะทำให้เราเชื่อในบทบาทของเด็กหญิงที่ เป็นออทิสติกเรียนรู้การต่อสู้จากศิลปะการต่อสู้ที่มาจากโทรทัศน์
เธอใช้เวลาสองวันที่โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กออทิสติกและกลับมายังสถานที่ฝึก พยายามอย่างหนักที่จะรวมบุคลิกออทิสติกเข้ากับท่วงท่าการเคลื่อนไหวซึ่งเธอ ยอมรับว่าทำยากมาก
การแสดงภาพตัวละครให้ดูน่าเชื่อถือดูจะเป็นปัญหาคลาสสิคสำหรับนักแสดงแอกชั่นหลังจากที่ได้รับการท้วงติงในเรื่องบทที่ยังอ่อนและการแสดงที่ยังไม่ค่อยดี นัก ปรัชญาไมยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง
จีจ้ากล่าวอีกว่า เมื่อเธอแสดงบทแอ็กชั่นก็จะลืมเรื่องการแสดงทั้งหมด เขาสอนให้ฉันความรู้สึกของออทิสติกเอาไว้ในหัวก่อนที่จะออกท่าทาง นี่เป็นเทคนิคที่ช่วยได้ดีมาก
จีจ้าจะสามารถนำภาพยนตร์แอ็กชั่นที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงกลับมาสู่จุดสว่าง ผู้คนจะตื่นเต้นในท่าทางและการแสดงในทางเดียวกับนักแสดงหญิงเช่นจารุณีสุขสวัสดิ์และหม่อมหลวงสุรีวัลย์ สุริยงค์ ที่แสดงภาพยนตร์แนวต่อสู้ฟันดาบในช่วงปลายยุค70 ได้หรือไม่ พวกเราต้องรอคอยติดตามชม
จีจ้าหวังไว้ว่าผู้ชมจะชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ก็มีกระแสคำติชมต่างๆ บอกว่าเธอเป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของโทนี่จา เธอกล่าวว่า ฉันเชื่อในการอยู่กับปัจจุบันและรู้สึกแปลกที่เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยขอลายเซ็นและถ่ายภาพร่วม ฉันเป็นเพียงผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสอันวิเศษและก็พยายามทำให้ดีที่สุดผู้ชมจะชอบภาพยนตร์เรื่องนี้หรือไม่ก็เป็นเรื่องของพวกเขา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฉันก็จะไม่ล้มเลิกและจะพยายามทำให้ดีกว่าเดิมในเรื่องต่อไป
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 บรรยากาศในประเทศไทยอบอุ่นมากขึ้นและภาพยนตร์เรื่องช็อกโกแลตก็ได้รับการโปรโมตไปกับสื่อมวลชน น่าสนใจที่จะได้เห็นผู้ชมมีความชอบหนังที่จีจ้าต่อสู้เหมือนกับผู้ชาย การผสมผสานระหว่างสไตล์ของบรูซลีเฉินหลงและโทนี่ จา ในภาพยนตร์เรื่องเดียวที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิง
ในความเห็นของดิฉัน ในอนาคตจีจ้าสามารถพิสูจน์ตัวเองดารานักสู้หญิงในรูปแบบของเธอเอง ดิฉันคิดว่าความหมายที่แท้จริงของช๊อกโกแลตนั้นไม่ได้เป็นรสชาติที่หวานและขมเท่านั้น แต่ก็ยังเป็นความสุขและความเศร้าของชีวิตอีกด้วย
No comments:
Post a Comment