Janine Yasovant: Writer
American audiences had to wait a year to see Thai movie star and action hero, Tony Jaa, on a big screen in The Protector, directed by Prachya Pinhaew. Most critics were agitated about how the original movie was cut by the big scissors of the distributor and presenter from Hollywood. The consensus was that it ended up as a bad film with intense, bloody hand-to-hand fighting and set a Guinness-worthy record for most bone-crunching sound effects in a movie, and some really bad dubbing. It also got an R-rating.
The film played for two years in Asia and Europe as Tom Yum Goong. Thai fans and local critics worried about cuts. The Weinstein Co. and "presenter" Quentin Tarantino took a Thai film -- originally titled "Tom Yum Goong" -- and trimmed it from 109 minutes to about 80. Sadly, when they cut down a beautiful part of the movie, the relationship between Jaa and his elephants, the Weinsteins successfully censored out a lovely part of Thai culture
I went to see The Protector in its original Thai version. Let me say, I went to see it twice. Sure, forget about the plot It becomes even more ridiculous when it depicts the very simple way of life for people in Issan Thailand, where Tony Jaa was born and spent his early life with elephants. But the fight scenes are incredible. If you like good action and martial arts, you will love this film. I have not seen anyone else to compare to Tony Jaa lately; not even Jackie Chan or Jet Li.
This movie has some of the best fight scenes I've ever seen in a martial arts film. I was so amazed I laughed with joy. There is one fight scene that defies explanation--one continuous shot that lasts for at least 5 minutes. You must see it on the big screen to get the full effect. What the movie doesn't have: wires, stuntmen, or computers. There are tricks of camera placement and creative editing, but for the most part, what you see is what you get.
The story is typically convoluted. Poachers steal two elephants prized by a rural village. The villagers send Kham (Jaa) to retrieve the elephants, which the villains have taken to Sydney. One of the elephants is to help one of the villains, Madame Rose (Xing Jing), a Chinese woman who wants to rule over all crime in Sydney, gain power through a strange ritual in which the elephants' "power" is transferred to her. The other is apparently on the menu of the villains' underground restaurant in which exotic animals are served as dinner.
Kham's main allies are a beautiful young woman (Bongkoj Khongmalai) who is a girlfriend of one of the villains but begins to help Kham on his noble quest, and a Thai-born member of the Sydney police force (Petchtai Wongkamlao, a noted Thai comedian who similarly enlivened the film, Ong Bak). Of course, the relationship between Kham and the woman was more beefed up in the original, and the cop is overdubbed in The Protector, robbing him of much of his soul. (The dubbing is also a mystery in a mostly subtitled film.)
In the end, what we're left with is wall-to-wall Kham, and that's not at all a bad thing. There are boat chases, explosions, Kham going after people in a helicopter, Kham being attacked by thugs on motorcycles in a warehouse, a confrontation with several 6-foot-5-plus behemoths and a waterlogged fight in a burning temple.
ผู้ชมชาวอเมริกันต้องรอคอยเป็นเวลานานแรมปีที่จะได้เห็นดาราภาพยนตร์แอคชั่น ชาวไทยที่มีชื่อว่า โทนี่ จา บนจอฉายหนังผืนใหญ่ เดอะ โพรเทคเตอร์ กำกับการแสดงโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ซึ่งรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับหนังต้นฉบับที่ถูกตัดโดยผู้นำเสนอและจัดจำหน่ายจากฮอลลิวูด ความคิดเห็นโดยรวมเห็นว่าเนื้อเรื่องไม่ค่อยดี มีการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่รุนแรง และสถิติของ กินเนส บุ๊คมีเสียงหักกระดูกมากที่สุดในบทภาพยนตร์ ยังมีการพากย์ทับแบบยอดแย่ และหนังยังได้เรท R อีกด้วย
ภาพยนตร์ฉายมาเกือบสองปีแล้วทั้งในเอเชียและยุโรปในชื่อ ต้มยำกุ้ง ชาวไทยและนักวิจารณ์ต่างกังวลเกี่ยวกับการตัดหนัง บริษัท Weinstein และ ผู้นำเสนอเควนติน ทารันติโนได้นำหนังไทยเรื่องนี้ที่มีชื่อเดิมว่าต้มยำกุ้ง และตัดทอนจาก109 นาที่ เหลือ 80นาที เสียดายที่พวกเขาตัดส่วนที่สวยงามของภาพยนตร์ออกไปความสัมพันธ์ระหว่างจากับช้างของเขา บริษัท Weinstein ได้เซ็นเซอร์ส่วนที่น่ารักของวัฒนธรรมไทยไปโดยบริบูรณ์
ดิฉันได้ดูภาพยนตร์เรื่อง เดอะ โพรเทคเตอร์ ฉบับดั้งเดิมที่เป็นภาษาไทย และได้กลับไปดูถึง2ครั้ง แน่นอน ลืมการพล็อตเรื่องไปได้เลย เริ่มแรกเป็นการพรรณนาถึงวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของผู้คนอีสานในประเทศไทย สถานที่จา พนม เกิดและเติบโตมาพร้อมกับช้างแต่ฉากการต่อสู้ทำได้อย่างยอดเยี่ยม ถ้าคุณชอบหนังแอคชั่นดีๆและมีศิลปะการต่อสู้ต่างๆ คุณก็จะรักหนังเรื่องนี้ ดิฉันยังไม่เคยเห็นใครที่จะเปรียบเทียบกับโทนี่ จา ในตอนนี้ได้ แม้กระทั่งเฉิน หลง หรือเจ๊ท ลี
ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากการต่อสู้ที่ดีที่สุดเท่าที่ดิฉันเคยเห็นจากภาพยนตร์แนวศิลปะการต่อสู้ ดิฉันรู้สึกประหลาดใจและหัวเราะอย่างเป็นสุข มีอยู่ฉากหนึ่งซึ่งท้าทายให้หาคำอธิบาย ฉากเดียวซึ่งยาวนานถึง5นาที คุณต้องไปชมจอใหญ่ถึงจะได้อรรถรส เต็มที่สิ่งที่หนังเรื่องนี้ไม่มีคือ สายสลิง สตันท์ และคอมพิวเตอร์ มีเทคนิคการจัดวางมุมกล้องและการตัดต่อ ทั้งหมดคือสิ่งที่คุณเห็นและสัมผัสได้
เรื่องราววนเวียนซ้ำไปซ้ำมา มีผู้ร้ายลักพาช้างสองเชือกไปจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจึง ส่งขาม(จา พนม)ไปเอาช้างที่ผู้ร้ายพาไปยังซิดนีย์กลับคืนมา ช้างตัวหนึ่งถูกนำไป ให้ผู้ร้ายคนหนึ่งที่มีชื่อว่ามาดามโรส (Xing Jing) หญิงชาวจีนคนหนึ่งที่ต้องการยึด ครองอาชญากรรมทั้งหมดในนครซิดนีย์ ได้รับพลังอำนาจจากพิธีกรรมประหลาดซึ่ง พลังอำนาจจากช้างจะถูกส่งผ่านไปให้เธอ ช้างอีกตัวกำลังจะกลายเป็นเมนูของร้านอาหารใต้ดินซึ่งสัตว์จากที่ต่างๆกันถูกนำมาเป็นอาหารเย็น
ผู้ช่วยเหลือขามเป็นหญิงสาวคนหนึ่ง (บงกช คงมาลัย) ที่เป็นแฟนสาวของ 1 ใน พวกผู้ร้ายแต่ได้ช่วยขามในภารกิจอันทรงเกียรตินี้ และนายตำรวจนครซิดนีย์ชาวไทย (เพชรทาย วงศ์คำเหลา) ตลกชาวไทยที่เคยเล่นเรื่อง องค์บากมาด้วยกัน แน่นอน ความสัมพันธ์ของขามและผู้หญิงคนนั้นก็มีความเข้มข้นมากขึ้นในต้นฉบับ และตำรวจคนนั้นก็มีการถูกพากย์เสียงทับเยอะเกินไปในเรื่อง เดอะ โพรเทคเตอร์ ซึ่งเป็นการขโมยจิตวิญญาณของเขาไป (การพากย์เสียงทับดูจะเป็นเรื่องลึกลับใน ภาพยนตร์เสียงในฟิล์มทั้งหมด)
ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่หลงเหลืออยู่คือขาม นั่นก็ไม่เลวร้ายแต่อย่างไร มีฉากไล่ล่า ทางเรือ ฉากระเบิด ขามติดตามคนร้ายเข้าไปในเฮลิคอปเตอร์ ขามถูกโจมตีโดย เหล่าร้ายที่ขี่มอเตอร์ไซด์ในโกดัง การเผชิญหน้ากับมนุษย์ยักษ์สูงหกฟุตห้านิ้ว หลายคน และการต่อสู้ในวัดที่ไฟไหม้และมีน้ำท่วมขัง
ดิฉันเคยเขียนเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของโทนี่ จา ที่ scene4แห่งนี้ในเดือนกันยายน 2548 และได้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนชาวเอเชียกระตือรือร้นมากแค่ไหนในเรื่องภาพยนตร์แอคชั่น พวกเขาชอบดูฉากการต่อสู้แม้ว่าจะไม่สมจริงและไม่มีพล็อต พวกเขายังเต็มใจที่จะมองข้ามจุดอ่อนของหนังเพื่อที่จะดูดาราดังแสดงและดูว่าผู้กำกับฉากต่อสู้จะสร้างความมหัศจรรย์ได้อย่างไร ดิฉันมีเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นอาจารย์สอนเรื่องการเงินในกรุงเทพและก็เป็นผู้ที่ชื่นชอบโทนี่ จา เป็นอย่างมากเขารักหนังเรื่องนี้มากจนมองข้ามจุดอ่อนของตัวหนัง และต่อไปนี้คือความคิดเห็นของเขา
มีฉากต่อสู้หลักๆอยู่ 5 ฉาก แต่ละฉากก็มีรูปแบบเฉพาะ ฉากแรกคือฉากที่ต่อสู้ในบ้านของนักการเมือง ไปจนถึงการไล่ล่ากันทางเรือ ฉากต่อสู้คล้ายการต่อสู้ในบ้านตอนท้ายของหนังเรื่ององค์บาก แต่ท่วงท่าการต่อสู้ดูดีกว่า ฉากต่อมาคือจา พนมต่อสู้กับนักกีฬา x-game จำนวนมากในโรงงาน รูปแบบของการต่อสู้ครั้งนี้เหมือนกับฉากการไล่ล่าในเรื่ององค์บาก ทักษะความปราดเปรียวของจา ถูกนำเสนอเอาไว้อย่างชัดเจน ฉากนี้เหมือนเป็นอาหารตาของฉากแอคชั่นเลยที่เดียวจา พนมไม่เคยหยุดสร้างความประหลาดใจแก่คุณด้วยความเคลื่อนไหวที่ดูเหนือมนุษย์ ฉากต่อเนื่อง 4 นาทีน่าจะเป็นฉากที่ด้อยที่สุดในด้านของฉากการต่อสู้ แต่เป็นการแสดงวิธีการถ่ายทำที่ดีผมรู้สึกชอบในตอนที่จา พนมสู้ตัวต่อตัวกับจอห์นนี่เพราะการสร้างอารมณ์นั้นยอดเยี่ยมมาก คุณจะรู้สึกถึงความโกรธของขามถ้าคุณเป็นเขา และเมื่อโทสะประทุเดือด ว้าว เป็นการแสดงที่ยอดเยี่ยมมาก ฉากที่ต่อสู้ในวัดก็สวยงามมาก (ทั้งการต่อสู้และการจัดฉาก)ฉากการต่อสู้ครั้งสุดท้ายดูเหมือนจะไม่จบไม่สิ้น ฉากนี้จะเป็นจุดไคลแมกซ์ของหนังอีกจุดหนึ่ง คุณก็จะได้เห็นท่วงท่าต่อสู้ของช้างที่เรียกว่ามวยคชสารที่แท้จริง
สรุปแล้วว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำเงินได้ดีในอันดับBoxOffice อย่างไม่มีข้อกังขาแต่ผู้ที่ได้เครดิตคือโทนี่ จา ส่วนอื่นๆ ถูกเพิกเฉยไป จะแย่ก็ตรงที่ว่าเรื่องนี้มีศักยภาพพอที่จะเป็นหนังดีทั้งหมดได้ เสียดายว่าท้ายสุดแล้วก็กลายเป็นการใช้ยานพาหนะในการต่อสู้สำหรับการแสดงภาพยนตร์แอคชั่น และแอคชั่นเท่านั้น
No comments:
Post a Comment