Monday, September 4, 2017

About the Magazine





                                                                        Janine Yasovant: Writer

As time passed by.. 




Asia has accepted action and adventure films for a long time. People love to see the fighting scenes even though they seem unreal, especially the thrills of the martial arts. Some people will overlook the weak points of films just to follow a film star in action and see how the choreographer creates his wonders. So it is with Thai audiences as well.




Tony Jaa, who's real name is Panom Yeerum, was born in 1976 in Surin (Issan Province in Thailand's Northeast, near the Laotian and Cambodian border). He is the third of four children of parents who are rice farmers and mahouts (elephant trainers). As a child, Panom raised elephants and each day would play with them by leaping onto the backs of two baby elephants, "Flower" and "Leaf". He did this every day for many years; as the elephants grew so did his jumping abilities.




"Riding elephants is a skill in itself," Jaa says, "but when you train them to pick up leaves or water and throw it back at you, you become attached to them and you must eventually become one with them."




But childhood life wasn't all peaceful and serene. "As a kid playing with the elephants, we were always reminded that we lived in a 'Red' area near the Cambodian border", Jaa says, "so there was constant wartime terror when we'd hear the planes coming and have to literally run away from the bombs."




During those chaotic times, besides tending his father's rice paddies and somersaulting off elephants into the river, Panom found solace and direction by watching Bruce Lee and early Jackie Chan films, shown outdoors on white sheets, when a projectionist visited the village. He traveled as much as 10 kilometers just to watch a film. "Because of Bruce and Jackie, I realized I wanted to be a martial arts film star", Jaa said. "But they were doing Chinese kung-fu. I wanted to do something to show the world Thai culture, Thai martial arts, so I decided to practice Muay Thai Boran (Ancient boxing)."




The young Jaa worked hard to become a champion. He trained every morning from 5am to 10am followed by an evening session right after school. His father used to train him since he was also a Muay Thai boxer. At the age of 10 he discovered a film called Born to Fight (Kerd Ma Lui, 1978) directed by Panna Rittikrai, a famous Thai stuntman.




After his third year of college (secondary school for some countries), around the age of 13-14, Tony asked Panna if he could live and train with him. Panna thought that he was too young and wanted him finish his schooling, but allowed Tony to train with him during his spare time. This is when Jaa began to work in films and do various backstage jobs from being a water boy, to cleaning the sets, cooking, holding the umbrella over the cameraman




Finally, at the age of 15, Panna took Jaa under his wing and became his master. Panna was living in Khon Kaen, a province in the Northeastern highlands and Jaa traveled there to study with him. When Jaa was 21, Panna advised him to study at Maha Sarakhma Physical Education College, a school that specialized in sports sciences. All of the Martial Arts are taught there and Jaa would study more styles of fighting including Tae-Kwan-Do, Muay Thai, swordplay, Krabi Krabong, Judo, Aikido, gymnastics, and many more skills, plus acting and stunt skills.




After hard training for a while, Panna recommended Jaa for stunt jobs in several films. At the same time, Jaa tried to blend acting skills with Thai fighting skills along with fundamental concepts of gymnastics, and performed in road shows at schools. As the president of the Swordplay Club in college, he became a representative to demonstrate the arts of Thai fighting skills in China, as well as a representative to all demonstrations in the northeastern region of Thailand. Jaa consistently won the gold medal in college competitions of swordplay, gymnastics, and track-and-field.




Jaa studied Muay Thai for four years and then prepared three years for Ong-Bak (The Thai Warrior). All of the fighting in the film is done without wires, stunt doubles or digital effects. "I refuse to use wires for safety because I want people to see the 'reality' and bring back that feeling from Jackie Chan's prime years. Besides, the wires interfere with the real techniques and I wish to show the world the other side of Thai martial arts, not just what most think is fighting in an arena". On its release, Ong-Bak, in which Tony Jaa also worked as fight choreographer, became a smash hit and established Jaa as Thailand's top action actor.




Ong Bak refers to a Buddha statue kept in a temple in rural Thailand. It dates from the time of the Thai/Burmese war, 200 years ago. The villagers believe Ong Bak is imbued with magical powers that will keep them safe from harm.




One dark night, a former native of the village, Don, has his men cut the head of the statute to win favor with a ruthless crime boss. The locals regard the theft as a catastrophe, and seek a champion to retrieve their lost treasure. They find their man in Ting (Tony Jaa), an orphaned youngster raised at the local temple, and schooled by a monk, in an ancient system of Muay Thai: 'Nine Body Weapons'.




Ting travels to the mean streets of Bangkok, where he finds that the head of Ong Bak in the possession of a local gang boss, Khom Tuan. Ting meets another native of Nong Pra-du, George, and a street waif, Muay Lek. He enlists their help in his quest. The ensuing adventures sees our heroes engage in fist-fights, running street battles and an intricate chase sequence featuring tuk-tuks, the famous three-wheeled Thai taxis.




To recover the Buddha head, Ting is forced to compete in illegal street fights, taking on both local and foreign opponents. His superior skills make him a natural champion, and he even agrees to throw a fight with a Burmese boxer when he's promised the return of Ong Bak.




At the end, Khom Tuan betrays Ting, leading to a final encounter in a cave situated on the border between Thailand and Burma. Ting is forced to use every ounce of his courage and stamina in a final martial arts battle of truly epic proportions.




In February 2005, Ong Bak  became the first film from Thailand that brought together the abilities of the actor Tony Jaa and martial arts and stunt choreographer Panna Rittikrai. This film was directed by Prachya Pinkaew and has enjoyed box-office success in many countries. Tony Jaa became a new hero in Thai Boxing. He is a new action hero for children and audiences around the world. In April 2005, he was featured in GQ magazine and in July 2005, he was selected to be among "122 people and things we love this summer."




A Personal review: The constant criticism of Ong Bak is its plot. Many critics argue that Ong Bak's story is quite weak. But I believe that those who want to make this type of film should not focus more on the plot. I don't mean that the plot is not important, but at least the martial arts sequences should be of equal concern. In my opinion, Ong Bak does not have a bad story. It's the continuity that is problematic. It's not a smooth film. After watching it several times, I feel that Ong Bak is primarily a martial arts 'presentation', not a martial arts 'film'. The problem may be that all action sequences were created before the plot was written. Nevertheless, I still say that the story for martial arts films is not of primary concern, though it would enhance the experience if it moved more smoothly. Write a simple story, but make sure that audiences won't be asking themselves "why" or "how", etc. Yet, in an interesting way, the film is able to manipulate a viewer's feelings. It does, indeed, make you hate the bad guys so much that you can't help but imagine yourself jumping into the film and kicking those bad butts on behalf of the hero. Now that would be a wild action film and quite an adventure. 






















วันเวลาที่ผ่านไป...
ชาวเอเชียได้ตอบรับภาพยนตร์แนวแอคชั่นและผจญภัยมาช้านานแล้วผู้คนชื่นชอบมองดูฉากการต่อสู้แม้ว่ามันจะไม่ค่อยสมจริงเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความน่ากลัวของศิลปะการต่อสู้ ผู้คนจำนวนหนึ่งมองข้ามข้อบกพร่องของภาพยนตร์เพื่อที่จะติดตามดารานำและดูว่าผู้กำกับคิวบู๊จะสร้างความอัศจรรย์ได้อย่างไร

โทนี่ จา หรือนายพนม ยีรัมน์ เกิดเมื่อปี พ.ศ 2519 ในจังหวัดสุรินทร์(จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีพรมแดนติดกับประเทศลาวและกัมพูชา) เขาเป็นบุตรชายคนที่สามจากทั้งหมด 4คน พ่อแม่ของพนมเป็นชาวนาและคนเลี้ยงช้าง ในวัยเด็ก เด็กชายพนมเลี้ยงช้างและทุกวันและกระโดดข้ามหลังลูกช้างสองเชือกที่มีชื่อแปลว่า ดอกไม้และใบไม้เป็นเวลาหลายปี เมื่อช้างเติบใหญ่มากขึ้นก็เป็นการพัฒนาทักษะการกระโดด จากล่าวว่า "การขี่ช้างก็เป็นทักษะอย่างหนึ่งในตัวของมันเอง แต่เมื่อคุณได้ฝึกฝนให้พวกมันเก็บใบไม้หรือน้ำแล้วพ่นกลับมาหาคุณ คุณก็จะสนิทกับช้างแล้วก็จะกลายเป็นพวกเดียวกันในที่สุด"

แต่ชีวิตในวัยเด็กไม่ได้สงบ สันติ จากล่าวอีกว่า"เมื่อเป็นเด็กเลี้ยงช้าง เราต้องระลึกเสมอว่าเราอยู่ในเขตพื้นที่สีแดงใกล้กับชายแดนกัมพูชา ก็จะมีการเตือนในช่วงสงครามเสมอที่ได้ยินเสียงเครื่องบินผ่านมา เราก็ต้องหลบหนีระเบิด" ในช่วงเวลาที่สับสนวุ่นวายนั้น นอกเหนือจากดูแลเก็บเกี่ยวข้าวและกระโดด
ตีลังกาจากหลังช้างลงแม่น้ำ พนมได้พบความสบายใจและหนทางดำเนินชีวิตจากการชมหนังกลางแปลงของบรูซลี และเฉินหลงในยุคเริ่มแรก (การฉายภาพยนตร์บนแผ่นผ้าใบสีขาวเมื่อคนฉายหนังเข้ามาในหมู่บ้าน) อาจต้องเดินทางไกลนับ10กิโลเมตรเพื่อไปชมภาพยนตร์ จากล่าวอีกว่า"เพราะบรูซลี
และเฉินหลงทำให้ผมตระหนักว่าอยากเป็นดาราหนังศิลปะการต่อสู้ แต่พวกเขาใช้ศิลปะการต่อสู้แบบกังฟูของจีน ผมอยากแสดงวัฒนธรรมไทยบางสิ่งให้โลกได้เห็นศิลปะการต่อสู้ของไทย ผมจึงตัดสินใจฝึกฝนมวยไทยโบราณ"

พนมตัดสินใจฝึกฝนอย่างหนักเพื่อเป็นแชมป์ เขาฝึกซ้อมตอนเช้าตั้งแต่ตี 5 จนถึง10โมงเช้า ฝึกซ้อมอีกในตอนเย็นหลังจากโรงเรียนเลิก พ่อของเขาเป็นผู้ฝึกสอนเพราะเป็นอดีตนักมวย พนมเข้าโรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์ตอนอายุ 10 ขวบ ในตอนนั้นเขาพบภาพยนตร์เรื่องเกิดมาลุย(ปี 2522) กำกับโดยพันนา
ฤทธิไกร สตันท์แมนผู้มีชื่อเสียง หลังจากการเรียนโรงเรียนมัธยมปีที่3 พนมตอนอายุ13-14ปี พนมได้ขอไป อาศัยอยู่กับพันนา พันนาคิดว่าพนมยังเด็กเกินไป จึงบอกให้กลับไปเรียน หนังสือต่อจนจบ แต่อนุญาตให้พนมมาฝึกฝนในเวลาว่างได้ พนมได้เรียนรู้ เกี่ยวกับภาพยนตร์และได้ทำงานหลังเวทีหลายอย่างเช่นเด็กเสริฟน้ำ ทำความสะอาดอุปกรณ์ ทำครัว ถือร่มให้ช่างกล้อง

ในที่สุด เมื่อเขาอายุได้15ปีพันนารับพนมไว้ในความดูแลและเป็นอาจารย์ พันนา อาศัยอยู่ที่ขอนแก่น จังหวัดที่อยู่บนที่ราบสูงในภาคะวันออกเฉียงเหนือ พนมเดินทางไปและไปศึกษางานอยู่ที่นั่น เมื่อเขาอายุ 21 ปี พันนาแนะนำให้ เขาไปเรียนต่อที่วิทยาลัยพละศึกษาจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยที่เชียวชาญ ในด้านของกีฬา ศิลปะการต่อสู้แทบทุกอย่างมีอยู่ที่นั่น พนมมีบทเรียนเรื่อง ทักษะการต่อสู้ ให้ศึกษามากขึ้น เช่น เทควันโด้ มวยไทย ดาบไทย กระบี่ กระบอง ยูโด ไอคิโด ยิมนาสติก และอีกหลายอย่าง ฝึกทักษะการแสดงและ การเป็นสตันท์จากพันนาในทุกๆสับดาห์ที่ขอนแก่น

หลังการฝึกฝนอย่างหนักผ่านพ้นไป พันนาสนับสนุนให้พนมทำงานสตันท์และ เป็นนักแสดงสมทบในหนังหลายๆเรื่อง ในขณะเดียวกัน พนมพยายาม ผสมผสานการต่อสู้แบบไทยและยิมนาสติกพื้นฐานเข้าด้วยกัน และเริ่มออก แสดงเดินสายไปตามโรงเรียนต่างๆ ในฐานะที่เป็นประธานชมรมดาบไทยที่ วิทยาลัย เขาเป็นตัวแทนสาธิตศิลปะของทักษะการต่อสู้ของไทยที่ประเทศจีน และเป็นตัวแทนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย พนมได้รับเหรียญ ทองเสมอในการแข่งขันฟันดาบ ยิมนาสติก และกรีฑาประเภทลู่และลาน

พนมศึกษามวยไทยในช่วงเวลา4 ปีบวกกับการเตรียมตัวแสดงภาพยนตร์เรื่อง องค์บากอีก 3 ปี การต่อสู้ทั้งหมดไม่ใช้สลิง ตัวแสดงแทน และเอฟเฟกต์ จา พนม กล่าวปฏิเสธว่า"ผมปฏิเสธการใช้สลิงเพื่อความปลอดภัยเพราะผมอยาก แสดงให้ผู้ชมเห็นว่ามันเป็นของจริง นำความรู้สึกจากหนังของเฉินหลงในช่วง
ก่อนกลับมา และแสดงทีมสตันท์สู่สายตาของประชาชน นอกเหนือไปจากนี้ การใช้เส้นสลิงเป็นการรบกวนเทคนิคจริง และผมอยากแสดงอีกด้านหนึ่งของ ศิลปะการต่อสู้ของไทย ไม่ใช่เป็นแค่การต่อสู้บนเวทีอย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน" เมื่อถึงวันนำเสนอภาพยนตร์ องค์บาก ที่โทนี่ จา ทำงานเป็นผู้กำกับคิวบู๊ด้วย เขากลายเป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นพระเอกนักสู้อันดับหนึ่งของประเทศไทย 

เนื้อเรื่องย่อองค์บาก
องค์บาก พระพุทธรูปที่ถูกเก็บรักษาที่วัดแห่งหนึ่งในชนบทของประเทศไทยถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามไทย/พม่าเมื่อ200 ปีที่แล้ว ชาวบ้านเชื่อว่าองค์บากมีอำนาจที่ทำให้ผู้คนปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

กลางดึกคืนหนึ่ง ดอน อดีตสมาชิกหมู่บ้าน ได้สั่งให้ลูกน้องตัดเศียรพระพุทธรูปไปให้หัวหน้าแก๊งค์ ชาวบ้านเห็นว่าการที่เศียรพระถูกขโมยทำให้เกิดภัยพิบัติ ได้ค้นหาผู้ที่จะไปทวงคืน จึงได้ให้บุรุษหนุ่มนาม ทิ้ง (โทนี่ จา)เด็กกำพร้าที่อาศัยอยู่ภายในวัด เขาได้เรียนมวยไทยโบราณที่เรียกว่านวอาวุธ จากพระสงฆ์รูปหนึ่ง

นายทิ้งเดินทางไปยังถนนแห่งหนึ่งในกรุงเทพ เขาพบว่าเศียรองค์บากอยู่ใน ความครอบครองของคมทวน ทิ้งพบชาวบ้านหนองประดู่อีกคนที่มีชื่อว่าจอร์จ และ หมวยเล็ก เด็กสาวเร่ร่อน เขาได้ช่วยเหลือทั้งคู่ในภารกิจของเขาการผจญภัยนี้ทำให้เราเห็นว่าพระเอกของเราต่อสู้ด้วยมือเปล่า ต่อสู้กันกลางถนน 
และฉากการไล่ล่าโดยใช้รถตุ๊กต๊ก

การที่จะนำเศียรพระพุทธรูปกลับมา ทิ้งถูกบังคับให้ต่อสู้ในเวที่ที่ผิดกฏหมายต่อสู้กับชาวไทยและชาวต่างชาติ ทักษะอันเยี่ยมยอดทำให้เขาเป็นแชมป์และเขาได้ตกลงต่อสู้กับนักมวยชาวพม่าเมื่อเขาได้รับคำสัญญาว่าจะคืนเศียรองค์บาก

ในที่สุดคมทวนได้หักหลังทิ้ง เกิดการต่อสู้ครั้งสุดท้ายในถ้ำระหว่างชายแดนไทย – พม่า ทิ้งถูกบังคับให้ใช้พลังความกล้าและความอดทนทั้งหมดในการต่อสู้ตัดสินครั้งสุดท้าย

กุมภาพันธ์ 2548 ภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก กลายเป็นเรื่องแรกที่ดึงความสามารถของโทนี่ จา และพันนา ฤทธิไกร ผู้กำกับคิวบู้เข้าด้วยกันกำกับภาพยนตร์โดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว ประสบความสำเร็จในหลายๆประเทศโทนี่ จากลายเป็นกลายเป็นแอกชั่นฮีโร่คนใหม่ในเรื่องมวยไทยสำหรับเด็กๆและผู้ชมทั่วโลก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาได้เป็นนายแบบในนิตยสาร GQ เดือนกรกฎาคม เขาได้รับเลือกให้อยู่ใน"122 คนและสิ่งของที่เรารักในหน้าร้อน"

ความเห็นส่วนตัว: องค์บากได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างจรืงจังมากในเรื่องเนื้อหา นักวิจารณ์หลายท่านเห็นว่าเนื้อหาขององค์บากอ่อนมาก เพื่อนของดิฉันที่เรียกตนเองว่าเป็นนักวิจารณ์สมัครเล่นแต่เป็นแฟนคลับของโทนี่จากล่าวกับดิฉันว่า ผมเชื่อว่าผู้ที่ทำภาพยนตร์แนวนี้ไม่ควรใส่ใจเรื่องเนื้อหามากนักไม่ได้ หมายความว่าเนื้อหาไม่สำคัญ แต่ฉากการต่อสู้เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงอย่าง เท่าเทียมกัน ในความเห็นของผม เนื้อหาขององค์บากไม่ได้เลวร้าย แต่ปัญหา อยู่ที่ความต่อเนื่องของบท มันไม่ใช่หนังที่ราบเรียบ หลังจากที่ดูมาหลายครั้ง ผมรู้สึกว่าองค์บากเป็นการนำเสนอศิลปะการต่อสู้ มิใช่หนังศิลปะการต่อสู้ ปัญหาเกิดขึ้นจากว่าฉากต่อสู้ถูกทำขึ้นก่อนเนื้อหา อย่างไรก็ตามเนื้อหาของ หนังศิลปะการต่อสู้ไม่ใช่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก แต่ถ้ามีความต่อเนื่อง ก็จะทำให้ดูดีขึ้น เขียนเรื่องราวง่ายๆ แต่ทำให้แน่ใจว่าผู้ชมจะไม่ถามว่าทำไม หรืออย่างไร ในทางที่น่าสนใจ ภาพยนตร์มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ชม แน่นอนทำให้คุณเกลียดคนร้ายมากจนจินตนาการไปว่าคุณเข้าไปในภาพยนตร์ แล้วทำร้ายคนเลวเพื่อพระเอกของคุณ นั่นจะเป็นภาพยนตร์แอคชั่นผจญภัยที่ดีเลยที่เดียว




No comments:

Post a Comment

Lakey Inspired