Tuesday, September 12, 2017

Forbidden Images



Lanna Thai Arts & Culture








"A Thought Moment" — This was a title of Lipikorn Makaew's art exhibition 2014 at The National Art Gallery in Bangkok. It depicted the Lanna way of life, traditions, ceremonies, art and culture. He had applied the Dharma of the Buddha as his instrument in conveying what happened in a thought moment of his own. All the ways of Lanna living are portrayed to demonstrate nature's substances from the soul. That exhibition, with his paintings and installation, was successful. 



Makaew is an assistant professor from Rajamangala Lanna and a famous Lanna artist in the North of Thailand. His style of work is quite unique and complete with thoughts, skills and essences that reflect the soul of Lanna culture. He is also a well-known folk musician. 



I was invited for lunch at Jai Yong Art Gallery in Chiang Mai Province. This establishment also has a northern Thai food restaurant in front of the gallery. On that day, I also met many art lecturers and students from Rajamangala Lanna as they came to the opening ceremony of an art exhibition by their fellow graduate students. This was a great chance to meet them.










A Conversation with Lipikorn Makaew




JY: Thank you very much for the nice traditional lunch for me and my staff. I met you before and followed your work a couple years ago. I personally love all kinds of installations including your Yantra work which is an ancient pattern on a piece of cloth, apart from the body paint that was believed to be protection from harm and danger, I have some questions for you.

LM: It is my pleasure to meet you. Please ask away.



JY: For a long time in Thailand, tattooing and design on the clothes were only for men. The artists were monks who had knowledge of Black magic and ritual. Is that true?
                         

LM: Actually, in Thai history, we had many wars with neighboring countries. Every man had to be a soldier. The elephant troops needed to follow the men into war. Monks from many temples were spiritual leaders who supported the morale of soldiers. Indeed, all monks were revered greatly by the people. For my actual work, I was inspired by my ancestors to search for information from the old scriptures. I brought the detail about talismanical garb and added some artistic beauty to further the ancient knowledge. Women could not wear these garments and they were forbidden to go to war.




JY: As far as I know, there were many heroines who participated in the war such as the Queen Suriyothai, Khun Ying Mo, and two heroines, Thao Thep Kasatri and Thao Srisunthorn, from Southern Thailand.

LM: In Northern Thailand, the belief in black magic evolved with religious rituals and ceremonies. Till now monks can be artists like in the past. The talismanical garb can be derived from local artists too.

JY: I saw your talismanical garb in the video. Those painted clothes were similar to what I found in many traditional companies or stores. They hung these clothes on the wall where anyone can see. At first, I was very frightened and thought that it was a forbidden image about sexual intercourse between a horse and a woman. I wonder why people bought these Yantra pictures. They seem very offensive and disgrace women.

LM: Do you mean the Yantra cloth that people called "Ma Sep Nang"? There is a belief that the owner will have great fortune in their business and the cloth was even made of shroud.





Lipikorn Makaew

(Associate Professor at Rajamangala Lanna University of technology)  
B.F.A. in Painting from the faculty of Fine Arts, Rajamangala Institute of Technology Prathumthani Province 
M.F.A. in Thai Art from the faculty of Painting, Sculpture and Graphic Art, Silpakorn University.

Honors and Awards
2001 First prize, gold medal Semi traditional 25th Bua Luang Art Exhibition
2010 Outstanding Chiang Mai Folk Artist, visual Arts painting 2010
2012 Robinson Bright and Charm Awards 2012, in the sector of Lanna and cultural promotion

Solo exhibitions
2002 "Phra Bot" Mae Fa Luang Chiang Rai
2003 "Temptation of Mara, The revival of Lanna folk Art"

From 1989 – 2014, he had many selected exhibitions in Thailand, 
India and New York.










รูปต้องห้าม                                                                                         
                                                                                                            จานีน ยโสวันต์





"ขณะจิตหนึ่ง" เป็นชื่องานนิทรรศการศิลปะของอาจารย์ ลิปิกร มาแก้วที่จัดขึ้นเมื่อปีพ,ศ, 2556 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงเทพมหานครงานนิทรรศการแสดงให้เห็นภาพของวิถีชีวิตล้านนา ประเพณี พิธีการต่างๆ ศิลปะ และวัฒนธรรม อาจารย์ ลิปิกรได้ประยุกต์หลักธรรมะของพระพุทธเจ้า ใช้เป็นสื่อถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นขณะหนึ่งในจิตใจของอ.ลิปิกร การดำรงชีวิตของชาวล้านนาจะถูกถ่ายทอดออกมาเพื่อแสดงสาระแห่งธรรมชาติจากจิตวิญญาณ งานนิทรรศการครั้งนั้นที่มีทั้งภาพเขียนและงานจัดองค์ประกอบก็ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี




อ.ลิปิกรเป็นรองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาและเป็นศิลปินล้านนาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย รูปแบบผลงานค่อนข้างมีเอกลักษณ์และครบเครื่องไปด้วยแนวความคิด ทักษะและแก่นสาระสำคัญที่สะท้อนจิตวิญญาณวัฒนธรรมล้านนา อ.ลิปิกรยังเป็นนักดนตรีโฟล์กซองที่มีชื่อเสียงอีกด้วย

ดิฉันได้รับเชิญไปทานอาหารกลางวันที่เฮินใจ๋ยองในจังหวัดเชียงใหม่ สถานที่แห่งนี้เป็นร้านอาหารไทยภาคเหนือที่ตั้งอยู่ด้านหน้ามีเรือน แสดงงานศิลปะในวันนั้นดิฉันได้พบกับอาจารย์สอนศิลปะหลายท่านและและนักศึกษาจากราชมงคลล้านนาที่มางานเปิดนิทรรศการศิลปะของนักศึกษาที่เรียนจบไปแล้ว นี่เป็นโอกาสอันดีที่ได้พบเจอกัน

การสนทนากับอาจารย์ ลิปิกร มาแก้ว 

จานีน: ขอบคุณมากนะคะสำหรับมื้ออาหารพื้นบ้านสำหรับดิฉันและทีมงาน ดิฉันเคยพบอาจารย์ มาก่อนหน้านี้แล้วและติดตามผลงานของอาจารย์ มาตั้งแต่สองปีที่แล้วโดยส่วนตัวแล้วดิฉันชอบงานศิลป์จัดองค์ประกอบทุกอย่างรวมทั้งผลงานผ้ายันต์ที่
เป็นลวดลายโบราณบนผืนผ้า นอกเหนือไปจากการลงสีบนร่างกายที่เชื่อกันมาว่าเป็นการป้องกันภัยอันตราย ดิฉันมีคำถามพิเศษสำหรับอาจารย์ด้วยค่ะ

ลิปิกร: ด้วยความยินดีครับ ถามมาได้เลย

จานีน: เป็นเวลานานแล้วในประเทศไทย การสักร่างกายและการเขียนลวดลายลงบนผืนผ้านั้นใช้เฉพาะกับเพศชายเท่านั้น ศิลปินเป็นพระภิกษุที่มีความรู้ด้านไสยศาสตร์มนต์ดำและพิธีกรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงใช่ไหมคะ

ลิปิกร: อันที่จริงแล้วในประวัติศาสตร์ไทย เราเคยทำสงครามรบกับประเทศเพื่อนบ้านหลายครั้ง ผู้ชายทุกคนต้องเป็นทหาร กองทัพช้างติดตามชายกลุ่มนั้นไปในสนามรบพระสงฆ์จากหลายวัดเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ดูแลเรื่องขวัญและกำลังใจ  แน่นอนว่า แน่นอนว่าพระสงฆ์ทุกรูปเป็นที่เคารพนับถือ สำหรับงานจริงๆของผมนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากบรรพบุรุษให้ค้นข้อมูลจากงานเขียนโบราณ ผมได้นำรายละเอียดของเสื้อมาแต่งเพิ่มความสวยงามเพื่อสืบสานภูมิปัญญาโบราณ ผู้หญิงไม่สามารถสวมใส่ชุดเหล่านี้ได้เพราะถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมรบในสงคราม

จานีน: เท่าที่ดิฉันทราบมา มีวีรสตรีไทยหลายท่านที่เข้าร่วมในสงครามเช่นสมเด็จพระสุริโยทัย คุณหญิงโม วีรสตรีจากภาคใต้อีกสองท่านคือท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร

ลิปิกร: ในประเทศไทยทางเหนือ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ปรับเปลี่ยนไปพร้อมกับพิธีกรรมและงานพิธีต่างๆทางศาสนา จนถึงทุกวันนี้พระสามารถเป็นศิลปินได้ดังเช่นในอดีต เสื้อผ้ายันต์สามารถได้รับมาจากศิลปินท้องถิ่นด้วยเช่นกัน

จานีน: ดิฉันเห็นเสื้อผ้ายันต์ในวิดีโอของอาจารย์ ลวดลายผ้ามีความเหมือนกับผ้าที่ดิฉันเจอในที่ทำงาน หรือร้านขายของในท้องถิ่น มีการแขวนผ้านี้ไว้บนผนังให้คนทั่วไปมองเห็นได้ตอนแรกดิฉันรู้สึกตกใจและคิดว่ามันเป็นรูปภาพต้องห้ามเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างม้าและผู้หญิง ดิฉันสงสัยว่าทำไมคนถึงซื้อผ้ายันต์พวกนี้ ดูแล้วเห็นเป็นภาพอนาจารและเป็นการลดคุณค่าสตรีอีกด้วย

ลิปิกร: คุณหมายถึงผ้ายันต์ที่คนเรียกว่า"ม้าเสพนาง" หรือครับ มีความเชื่อว่าผู้ครอบครองจะมีโชคลาภในทางธุรกิจ เนื้อผ้าเองยังเอามาจากผ้าห่อศพเลยครับ

อาจารย์ ลิปิกร มาแก้ว
(รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา)
- ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต จากคณะจิตรกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจังหวัดปทุมธานี
- ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาศิลปะไทย จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติและรางวัลที่ได้รับ
พ.ศ. 2544 รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง ครั้งที่ 25 มูลนิธิธนาคารกรุงเทพจำกัดมหาชน
พ.ศ. 2553 ผู้มีผลงานดีเด่น ศิลปินพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ สาขาทัศนศิลป์จิตรกรรม
พ.ศ. 2555 รางวัล Robinson Bright and Charm Awards 2012 สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมล้านนา



งานนิทรรศการเดี่ยว
พ.ศ. 2545 ลายคำล้านนาชุด "พระบฏ"  ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2546 ผลงานศิลปนิพนธ์ปริญญาโท ชุด มารผจญในลักษณะศิลปะพื้นบ้านล้านนา วัดยางหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 – 2555 อ.ลิปิกรมีผลงานนิทรรศการในประเทศไทย ประเทศอินเดีย และนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

























No comments:

Post a Comment

Lakey Inspired